รายงานการจ้างงานสหรัฐฯ / rate hike สำหรับ RBNZ อาจจะเขย่าตลาดให้เกิดความผันผวนต่อไป


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
ขณะที่ธนาคารกลางคิดว่าถึงเวลาที่จะหยุดเงินอุดหนุนได้เเล้ว สัญญาณความกลัวกลับกระพริบถี่เพราะเศรษฐกิจเริ่มที่จะชลอลง อย่างไรก็ดีผู้ออกนโยบายคาดว่าจะยังคงเดินในทิศทางนโยบายรัดตัวอยู่ ด้วยรายงานการจ้างงานกย. คงจะให้ไฟเขียวกับ Fed ในการทำ taper ได้สักที ส่วน RBNZ ยังคงเน้นไปที่ rate hike ขณะที่ราคาน้ำมันเเตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี เเละ opec+ จะอยู่ภายใต้เเรงกดดันให้ผลิตน้ำมันออกมามากขึ้นในการประชุมรายเดือน
RBNZ จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเเต่จะลดความเสี่ยงของสกุลกีวี่ลง
เศรษฐกิจของนิวซีเเลนด์ดูเหมือนจะเด้งกลับมาได้เเต่ความไม่เเน่นอนกลับมาเมื่อเมืองตกอยู่ในล็อกดาวน์อีกครั้งตอนสค. RBNZ กลั้นใจไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสค. จากการประกาศล็อกดาวน์ในครั้งนั้น เเต่ผู้ออกนโยบายเเสดงชัดเจนว่าการใช้นโยบายเเบบรัดตัวยังคงเป็นสิ่งหลักที่จะทำ
ถึงเเม้ว่าการล็อกดาวน์ครั้งล่าสุดไม่ได้ทำให้เกิดผลเสียมากนัก การเปิดเมืองเเบบเต็มที่ก็คงอีกไม่กี่อาทิตย์หรือไม่กี่เดือนถัดไป เพิ่มความน่าจะเป็นใน GDP ที่ไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ เคสของโควิดเองก็พุ่งอีกครั้งในไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ไฮไลท์ความยากในการควบคุมการเเพร่ระบาดของไวรัสภายใต้นโยบายผู้ติดเชื้อเป็น 0
ทำให้ความคาดหวังทางขาขึ้นของ 50-basis points (bps) rate hike ในการประชุมวันพุธลดลงเเละ RBNZ คงจะเพิ่ม cash rate จากตัวเลขเล็กน้อยของ 25bps เป็น 0.5% นอกไปจากว่าผู้ออกนโยบายจะส่งสัญญาณที่เเเข็งเเกร่งในอนาคต มันอาจจะไม่มีการบูสมากในกีวี่ โดยเฉพาะพันธบัตรสหรัฐฯ เองก็กำลังขึ้นอยู่
Mounting worries for the RBA
สกุลออสซี่จะได้เห็นแอกชั่นน้อยกว่ากี่วี่ เนื่องจากธนาคารกลางคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยเดิมเอาไว้ในการประชุมวันอังคารนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเเต่ด้วยการกระจายวัคซีนทำให้รัฐบาลสั่งให้รัฐต่างๆ ผ่อนปรนข้อจำกัดได้บ้างเเล้ว เเต่การล็อกดาวน์ไม่ใช่ความเสี่ยงเดียวที่เศรษฐกิจออสเตรเลียต้องเผชิญ การชลอลงของจีนคู่ค้าสำคัญของออสเตรเลีย เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ก้อนเมฆปกคลุมท้องฟ้าอย่างมืดมัว
มันมีโอกาสที่ RBA พยายามจะทำให้เศรษฐกิจฟังดูเเล้วไม่เป็นบวกมากเท่าไหร่ เพราะนักลงทุนจะได้คอยจับตาฟังโทนเสียงในการเเถลงต่อไป เเต่การประชุมหน้าจะไม่เเถลงจนกว่าจะถึงกพ. การบิดภาษาใดๆ อาจะทำให้เกิดการเทขายเงินออสซี่ได้
ตัวเลข NFP เดือนกย. จะ “ดีพอหรือยัง?”
Fed ในที่สุดก็ได้เริ่มทำ taper ส่งสัญญาณว่าเดือนพย.นี้จะเริ่มลงมือ เเต่มีเงื่อนไขภายใต้ที่ว่าต้องมีตัวเลขการจ้างงานที่เเข็งเเรง หรือ “ดีเพียงพอ” เเล้ว
ในวันศุกร์นี้ตัวเลขการจ้างงานอาจจะเเสดงออกในเเบบที่ว่า ส่วน NFP คาดว่าจะเพิ่มเป็น 500k ในกย. สองเท่าของสค. สำหรับอัตราการว่างงานคาดว่าจะลดลงไป 0.1% เหลือ 5.1% ขณะที่ month-on-month ของรายได้ต่อชั่วโมงคาดว่าจะลดลงจาก 0.6% เหลือ 0.4%
การสิ้นสุดลงของเเพกเกจการว่างงานเมื่อตอนต้นของกย. คาดว่าจะสนับสนุนให้ชาวอเมริกามองหางานมากขึ้น อย่างไรก็ดีเดลต้าบุกในหลายรัฐ หลายคนที่ไม่มีเเพกเกจดังกล่าวไม่ได้เเปลว่าจะกลับมาทำงานอีกเพราะกลัวที่จะติดเชื้อก็เป็นได้
เเต่หากตัวเลขการจ้างงานผิดหวังเพียงเล็กน้อย มันจะส่งผลต่อเเผนของ Fed เชียวหรือ? ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นเพราะอัตราเงินเฟ้อที่สูงกลายมาเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่ผู้ออกนโยบายคิดไว้ นอกจาก NFP จะเเย่เอามากๆ Fed คงจะยังเดินหน้าต่อไปกับเเผนการทำ taper
สำหรับตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นๆ ของสหรัฐฯ ISM non-manufacturing PMI กำหนดจะออกในวันอังคาร เป็นอีกหนึ่งที่น่ามองว่าสหรัฐฯเสียโมเมนตั้มมากขึ้นในกย. หรือไม่
หากผลการจ้างงานออกมามากกว่าที่คาดหรือตัวเลข PMI ดีกว่าที่หวัง จะผลักให้ดอลลาร์สูงขึ้น อย่างไรก็ดีหากเพียงเเค่เซอร์ไพรส์เล็กน้อยอาจทำได้เพียงให้เกิด pullback ถ้าหากไม่ตามมาด้วยความกระหายในความเสี่ยงที่พุ่งขึ้นตาม
สำหรับเเคนดา ตัวเลขการจ้างงานเเละการประชุม opec+ คือไฮไลท์สัปดาห์หน้า
ลูนี่ยังคงอยู่ในขาลงอย่างต่อเนื่องตั้งเเต่มิย. ถึงเเม้ว่าราคาน้ำมันจะดีดตัวขึ้นไปทำให้ราคาไฮใหม่ การลดเงินอุดหนุนสินทรัพย์ลงก็ไม่สามารถต้านทานการถดถอยของการกระหายความเสี่ยง รวมไปถึงการที่ดอลลาร์เองก็เเข็งตัวขึ้น
ลูนี่ตกอยู่ในอันตรายหาก opec เเละพันธมิตรตัดสินใจเพิ่มการผลิตน้ำมันมากกว่าแผนที่วางไว้ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ถึงเเม้ว่ามันไม่น่าเกิดขึ้นก็ตาม การขึ้นราคาของกลุ่มพลังงานทำให้ราคาน้ำมัน brent พุ่งไปสูงสุดในรอบ 3 ปี พันธมิตร opec+ อยู่ภายใต้เเรงกดดันที่ต้องทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงลดลง
อย่างไรก็ดี มันยากที่จะเห็นซาอุตกลงที่จะตัดการผลิตลงไปเร็วขึ้น ถึงเม้ว่าจะได้รับกำไรจากราคาน้ำมันในฟิวเจอร์ช่วงหลัง opec+ ตั้งใจที่จะออกจากภาวะวิกฤตโควิตในกย. 2022 เเต่ยังไม่เห็นตลาดรัดตัวพอที่จะการันตีได้ว่านโยบายจะเปลี่ยนจริงๆ ในกรณีของไม่มีการส่งสัญญาณใดๆ ออกมาเลย ราคาน้ำมันอาจจะสูงขึ้นต่อไป ช่วยให้สกุลเงินอย่างลูนี่สูงตามไปด้วย
ยังมีตัวช่วยของลูนี่เพิ่มในวันศุกร์ ตือรายงานการจ้างงานที่คาดว่าจะเเสดงให้เห็นถึงอนาคตของการฟื้นตัวตลาดเเรงงาน เเต่ว่าหากพิจารณาถึงความกังวลในโลกโดยรวม ตัวเลขที่ดีขึ้นอย่างมากน่าจะเเค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
Mood sours in Europe
สำหรับยุโรปเเละอังกฤษ สัปดาห์หน้าจะค่อนข้างเงียบเหงา ด้วยการปล่อย final IHS Markit services PMIs ในวันอังคาร Eurozone retail sales ในวันพุธ German industrial output ในวันพฤหัส ทั้งสองสกุลมีค่าที่ลดลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ นอกไปจากโทนเสียงของ Fed เเบบกระชัดตัวเเล้ว ยังมีผลของความกังวลในวิกฤตพลังงานที่จะฉุดความเติบโตลง โดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเผชิญกับปัญหาสายการผลิตที่ชะงักเนื่องมาจากการขาดคนงานขับรถบรรทุก
ความกังวลเหล่านี้ไม่จางหายไปเร็วๆ นี้เเน่ ดังนั้นการไหลลงของทั้งยูโรเเละปอนด์จะยังคงต่อเนื่องในอีกหลายวันถัดจากนี้