เงินเฟ้อสหรัฐเป็นไฮไลท์อีกครั้ง รวมถึง GDP ของ UK ด้วย


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
ตลาดจับตามองเเถลงตัวเลขเงินเฟ้อจากสหรัฐฯ หลังจากอาทิตย์ที่เเล้วค่อนข้างเงียบเหงา ส่วนทาง UK ก็จับตาดู GDP เช่นเดียวกันหลังจากเงินปอนด์ขาดเเรงหนุนเพราะ BoE ส่งสัญญาณออกมาผมสปนเปจับทางไม่ได้ ส่วนกีวี่อาจจะเเข็งขึ้นหากผลสำรวจออกมาว่าการคาดการณ์เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น
รอให้เงินเฟ้อถึงจุดพีคที่สุด
เป็นอีกอาทิตย์หนึ่งที่เงินเฟ้อดูมืดมัวหลังจาก CPI คาดว่าจะเถิบขึ้นอีกในวันพฤหัสนี้ ตัวเลข 12 เดือนคาดเอาไว้ว่าจะเพิ่ม 7.2% ในมค. ปีนขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้า มันอาจจะมีการผ่อนคลายบ้างสำหรับกรณี m/m ซึ่งคาดว่าจะเริ่มช้าลงในอีกประมาณ 4 เดือนที่ 0.4% เเต่สำหรับ core rate เเล้วมีการคาดว่าตัวเลขจะกระโดดจาก 5.5% เป็น 5.9% ใน y/y
สองสามเดือนข้างหน้านี้จะสำคัญในการตัดสินใจว่าเงินเฟ้อถึงจุดพีคเเล้วหรือยัง ดังนั้นนักลงทุนจะจับตาหาร่องรอยว่าเเรงกดดันราคาใน CPI ที่ได้รับผลจากโอไมครอนเเละการชะงักของอุปทานการผลิต เริ่มบรรเทาลงบ้างหรือยัง
ตัวเลขที่ออกมาอ่อนกว่าที่คาด จะเเสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อเริ่มอิ่มตัว นี่เป็นข่าวดีสำหรับ wall street เเต่ไม่ใช่ข่าวดีสำหรับดอลลาร์เพราะพันธบัตรอาจร่วงได้หากนักลงทุนเริ่มที่จะยกเลิกการคาดหวัง rate hikeขึ้นมา
ดอลลาร์อินเด็กพุ่งเเตะที่ระดับสูงสุดรอบ 18 เดือนหลัง Fed บอกว่าการขึ้น 50 basis points อยู่ในสิ่งที่จะทำ เเต่หากเงินเฟ้อทำเซอร์ไพรส์ในด้านบวกอีกครั้ง นั่นจะเพิ่มลมให้กับดอลลาร์ไปอี
สำหรับตัวเลขอื่นๆ ที่จะออกจากสหรัฐฯ จะมี preliminary consumer sentiment gauge  ของมหาวิทยาลัยมิชิเเกนที่จะออกในวันศุกร์
ยูโรอาจจะเฉิดฉายได้ถึงเเม้ว่าจะเป็นอาทิตย์ที่เงียบเหงา
ยูโรพุ่งขึ้นหลัง ECB ส่งสัญญาณว่าจะดูดเงินอัดฉีดกลับเร็วขึ้น เปิดประตูให้มีการทำ rate hike ในปี 2022 เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความกลัวเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
พันธบัตรโซนยูโรพุ่งขึ้นหลังจากการประชุม เนื่องจากเเนวคิดที่ว่าการทำ rate hike ปีนี้ใกล้เข้ามามากขึ้น นี่เป็นสิ่งเดียวในอาทิตย์นี้ที่จะบูสยูโรได้ เพราะตัวเลขอื่นไม่มีความสำคัญยกเว้นสถิติของเยอรมันบางตัว
German industrial output สำหรับธค. จะออกในวันจันทร์เเละตามมาด้วย trade figures ในวันพุธเเละสุดท้ายเเล้ว January CPI print ในวันศุกร์ หากมีเซอร์ไพรส์ด้านบวกใดๆ อาจจะช่วยบูสยูโรขึ้นได้
นอกจากโซนของยุโรป ธนาคารกลางสวีเดนมีการประชุมในวันพฤหัส เเละอาจจะตามรอยเท้าของ ECB ที่มีโทนเสียง hawkish มากขึ้น
เงินปอนด์จับตาดู GDP หลังจาก BoE ทำให้ตลาดสับสน
BoE นำหน้าธนาคารกลางอื่นๆ ในเเง่ที่ว่าเงินเฟ้ออยู่ใกล้ตัวเลขที่กำหนดไว้มากที่สุดเนื่องจากมีการทำ rate hike สองครั้งเเล้วในกพ. อย่างไรก็ดีถึงเเม้จะมีการจางหายไปของโทนเสียง hawkish เเต่  Bailey ได้ย้ำถึงความเสี่ยงของเงินเฟ้อที่มีการคาดการณ์ล่วงหน้าไว้ ทำให้คนสับสนว่าภาพรวมของดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรกันเเน่
ถึงเเม้ว่าเงินปอนด์จะยังคงยืนอยู่ได้หลังการประชุม เเต่มันต้องการเเรงผลักขึ้นใหม่เผื่อที่จะคงโมเมตั้มขาขึ้นไว้เมื่อเทียบกับดอลลาร์ มันน่าสงสัยว่า GDP ที่ออกมาจะช่วยได้หรือไม่ คาดกันว่าตัวเลขของ GDP จะเพิ่มขึ้น 1.1% ใน q/q เช่นเดียวกันกับในไตรมาส 3
นอกจากนี้ยังมี industrial production and the trade balance ที่อาดจจะดึงดูดความสนใจได้หากมันเเสดงให้เห็นว่ามีผลต่อโอไมครอนมากกว่าที่คาด สิ่งที่สำคัญสำหรับนักเทรดในตอนนี้คือ ตัวเลขการเติบโตในธค. เเละมค. ที่หายไปเเละที่จะฟื้นกลับมาจะเป็นไปในทิศทางเเละความเร็วเเบบไหน
กีวี่รอผลสำรวจของธนาคารกลาง
RBNZ จะมีการประชุมในวันที่ 23กพ. เเต่ตลาดอาจจะได้รับเงื่อนงำจากผลสำรวจไตรมาสของเงินเฟ้อในวันศุกร์นี้ RBNZ’s measures of price expectations เป็นอินดิเคเตอร์ที่ดีในอดีตที่ใช้ตัดสินใจว่าควรจะมุ่งหน้าไปทางไหน เเละอาจจะเป็นอย่างนั้นอีกครั้งหากตัวเลขการคาดการณ์ของเงินเฟ้อ 1-2 ปี กระโดดพุ่งมาก
การขึ้นดอกเบี้ยเเทบจะเเน่นอนเเล้วในการประชุมกพ. นี้ เเต่ธนาคารกลางอาจจะมีปัณหาการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตเเบบดุเดือดตามที่ตลาดวางไว้ หากเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น นั่นจะทำให้มีโอกาสผิดหวังเรื่องนี้น้อยลงเเละส่งให้กีวี่พุ่งขึ้น
สำหรับออสเตรเลีย ออสซี่จะรอดูการเคลื่อนที่ของประเทศเพื่อนบ้านเพราะตัวเลขที่สำคัญที่จะออกมามีเพียงตัวเลขคาดการณ์ retail sales เดือนธค. เเละสำหรับไตรมาส 4
การฟื้นตัวในภาพรวมความเสี่ยงสัปดาห์ที่จะถึงนี้ จะทำให้เป็นผลเสียต่อเงินเยนซึ่งเเข็งขึ้นเล็กน้อยในมค. อย่างไรก็ดี household spending ที่จะออกในวันอังคารเเละ  corporate goods prices ที่จะออกในวันพฤหัสไม่น่าจะช่วยกระตุ้นอะไรได้มาก