การวิเคราะห์ตลาดสัปดาห์หน้า – Fed มีการถกประเด็นการชลอโปรแกรมอัดฉีดลง เเต่ยังคงสงวนท่าที – ตัวเลขการเติบโตถูกจับตามองท่ามกลางความสงสัยต่อศักยภาพการฟื้นฟู


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
Fed น่าจะให้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับการชลอโปรแกรมอัดฉีดเงินเมื่อมีการประชุมในสัปดาห์หน้า เเต่คงไม่ถึงกับกำหนดเวลาที่เเน่นอนลงไปเลย ตลาดอาจจะทำราคาในไซด์เวย์ได้หาก Fed พูดรวมทั้งในด้านที่พัฒนาขึ้นเเละเตือนถึงอันตรายข้างหน้าพอๆ กัน
ตัวเลข GDP จากทั้งสหรัฐฯเเละโซนยุโรป อาจจะเพิ่มความยุ่งเหยิงให้ตลาดมากไปอีก เมื่อมีการคอนเฟริมว่าเศรษฐกิจได้มีการรีบาวนด์ขึ้นมาในไตรมาสที่ 2 ถึงเเม้ว่าความสับสนในภาพรวมจะยังคงเพิ่มขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกจากออสเตรเลีย เเคนาดา เเละสหรัฐฯเอง ก็น่าจับตามองเช่นกัน
Fed มองหาหนทางก้าวเดินต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
การประชุม 27-28 กค. จะเป็นไฮไลท์ในอาทิตย์หน้าเพราะจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่ Fed จะให้เงื่อนงำเกี่ยวกับการประกาศชลอการอัดฉีด ไม่ว่าจะเป็นการประชุม Jackson Hole symposium ในเดือนส.ค หรือ policy meeting ในเดือนก.ย เเต่สำหรับเดือนก.ค จะเป็นการยากมากเนื่องจากเหล่าผู้ออกนโยบายจะอยากเห็นตัวเลขที่เเน่นอนก่อนจะออกนโยบายอะไร ในขณะเดียวกันนโยบายเองก็ต้องออกตั้งเเต่ตอนนี้เเล้ว อย่างน้อยต้องมีการพูดคุยถึงเวลาเเละจังหวะที่จะใช้ในการลดการซื้อสินทรัพย์ลง
ที่ทำให้สถานการณ์สับสนมากขึ้น คือการติดเชื้อที่มากขึ้นภายใต้ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า ซึ่งตอนนี้กลายมาเป็นตัวหลักที่ระบาดในสหรัฐฯ คำเตือนเรื่องผลของไวรัสที่จะกระทบกับเศรษฐกิจทำให้การตัดสินใจเรื่องเมือไหร่จะลดวงเงิน QE เเตกต่างกันมากออกไปอีก อย่างไรก็ดี คงไม่มีอะไรสรุปออกมาจนกว่าการประชุมจะจบเเละสิ่งที่ได้ก็คือการรู้เพียงรางๆ ถึงเวลาว่าใกล้เเค่ไหนที่ Fed จะสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรม
จั่วหัวข้อข่าวสัปดาห์หน้า – PCE inflation
ถ้า Fed ยังคงใช้สคริปเดิมเเละให้เเค่เงื่อนงำของการชลอโปรแกรม QE ดอลลาร์สหรัฐฯเเละพันธบัตรอาจจะถูกกดด้วยเเรงดันจากขาลง เเต่ในส่วนของดอลลาร์น่าจะมีตัวช่วยขาขึ้นมาจากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ดีตัวอื่นๆ ที่จะออกมาช่วย
New home sales จะออกมาในวันจันทร์ ตามมาด้วย housing numbers ในวันอังคารเเละพฤหัส ราคาบ้านในสหรัฐฯบูมมากจากเเรงกดดดันของดีมานที่ผ่านมา เเละความต้องการที่จะย้ายออกไปนอกตัวเมืองเพื่อหนีการกระจุกตัวในชุมชนเมือง เเต่การสร้างบ้านถูกจำกัดด้วยวัสดุเเละเเรงงาน ดังนั้นภาคนี้จึงถูกจับตาว่าสถานการณ์นี้จะอยู่ไปถึงเมื่อไหร่เเละเงินเฟ้อจะส่งผลมาด้วยหรือไม่
ตัวเลขที่จะออกมา ที่น่าสนใจยังมี durable goods orders เเละ consumer confidence index ซึ่งจะออกมาวันอังคาร เเต่สิ่งที่เคลื่อนตลาดได้มากสุดคงเป็น GDP report ในวันพฤหัสเเละ PCE inflation ในวันศุกร์
เศรษฐกิจสหรัฐฯคาดว่าจะขยายขึ้น 8% ในสามเดือนถึงมิถุนายน มากกว่าช่วงก่อนหน้าโควิดซะอีก
แต่นักลงทุนจะรอดู personal income เเละ consumption figures สำหรับเดือนมิถุนายนในวันศุกร์ เเละสุดท้ายเเล้ว core PCE price index อาจเขย่าตลาดปลายสัปดาห์ได้ ขณะที่หน่วยวัดเงินเฟ้อของ Fed คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.7% m/m
ตัวเลข CPI จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของออสซี่เเละลูนี่ไหม?
ตัวเลขเงินเฟ้อจะออกมาในสัปดาห์หน้าสำหรับออสเตรเลียเเละเเคนาดาเช่นกันเเต่คงไม่มีผลต่อนโยบายในอนาคตของธนาคารกลางทั้งสองเเห่ง consumer price index ของออสเตรเลียอยู่ที่ 1.1% y/y ในไตรมาสเเรก เเต่อาจพุ่งขึ้นเหนือเป้าของธนาคารกลางที่ 3% ในไตรมาส 2 ถึงเเม้ว่านั่นจะเป็นข้ออ้างที่ดีเลยในการชลอ QE ลง เเต่จากการที่ออสเตรเลียเพิ่งสั่งล็อกดาวน์ไปอีก หมายความว่าธนาคารกลางอาจจะเพิกเฉยกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเพียงชั่วคราว
อย่างดีที่สุด หาก CPI prints ออกมาเเข็งเเรงมากกว่าที่คาดในวันพุธ มันอาจจะช่วยออสเตรเลียดอลลาร์สู้กับดอลลาร์ได้
ในเเคนาดา ข่าวเรื่องเงินเฟ้อได้เกิน 3% ไปเเล้วเเละการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ดูเเข็งเเรง ตัวเลข GDP ที่จะออกวันศุกร์จะช่วยคอนเฟริมสิ่งนี้
เเต่จากเทรนด์ของไวรัสที่เเย่ลงทั้งโลก รวมไปถึงภาพรวมของราคาน้ำมันที่เเย่ในช่วงหลัง มันยากที่จะบอกได้ว่าธนาคารกลางพร้อมที่จะก้าวไปมากกว่านี้กับการชลอโปรแกรม QE ลง ถึงเเม้ว่าอินดิเคเตอร์ภายในประเทศยังบอกว่าความเเข็งเเรงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นราคาน้ำมันเเละภาพรวมของความเสี่ยงยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของค่าเงินเเคเนเดียนในฤดูร้อนนี้
ปัญหาของไวรัสเดลต้าก่อตัวขึ้นในยุโรป
ในอังกฤษ ตัวเลขการติดเชื้อรายวันจะเป็นตัวตัดสินใจว่าปอนด์ควรไปทางไหนในสัปดาห์ที่เงียบสงบนี้ มันมีสัญญาณว่าสถานการณ์โควิดของอังกฤษตอนนี้กำลังอยู่ช่วงสูงสุดเเละจะมีหลักฐานสนับสนุนในอีกไม่กี่วันหน้านี้ ภาพรวมของปอนด์อาจจะดูดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ประเทศในโซนยุโรปบางเเห่งเพิ่งเริ่มเจอภาวะเดลต้า ในขณะที่บางประเทศเจอไปนานเเล้วและกำลังอยู่ในขาลงจึงยากที่จะมองภาพรวมได้ นักลงทุนเลยน่าจะใช้ business surveys เป็นตัวตัดสินใจมากกว่า เช่น ในเยอรมัน Ifo business climate index จะออกในวันจันทร์เเละ Eurozone’s economic sentiment indicator จะตามมาในวันพฤหัส
อาทิตย์หน้าจะปิดด้วยยักษ์ใหญ่อย่าง the flash estimates ของเงินเฟ้อเดือนก.คเเละ GDP ของไตรมาส 2 สำหรับ Eurozone’s harmonised index of consumer prices คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.0% y/y ในก.ค จาก 1.9% ในเดือนก่อนหน้า นั่นเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากเทียบกับสหรัฐฯ 5.4%
Underlying inflation ในโซนยุโรปยังคงต่ำอยู่ คาดการณ์ไว้ที่ 0.9% y/y
ด้วย ECB เพิ่มเป้าเงินเฟ้อไปที่ 2% ภาพรวมของ euro/dollar ค่อนข้างเเย่ อย่างไรก็ดีจากตัวเลข the preliminary GDP readings สำหรับไตรมาส 2 การโตของยุโรปโซนน่าจะสะท้อนกลับ 1.5% ในไตรมาส 2 หลังจากหักไป 1.3% ของไตรมาสก่อน
รายได้จากส่วนเทคโนโลยี เเละกีฬาโอลิมปิกที่ไร้คนดู
ในตลาดโดยรวม เป็นสัปดาห์ที่ขรุขระสำหรับผู้ชื่นชอบความเสี่ยง ฤดูหาเงินในตอนนี้อาจช่วยให้ตลาดอิควิตี้ยังมีชีวิตชีวาอยู่บ้าง รวมไปถึงบริษัทเทคโนโลยีที่ดังต่างๆ เช่น Apple, Microsoft เเละ Alphabet แต่ถ้าวิกฤตไวรัสกลายพันธุ์ยังคงโจมตี มันคงยากที่นักลงทุนจะไม่มองถึงเมฆดำที่ปกคลุมอยู่ตอนนี้ เเต่นั่นเป็นข่าวดีสำหรับ safe-haven currencies เช่น เยน เเละฟรังก์ ค่าเงินเยนร่วงลงมาจากราคาสูงสุดเเต่ในระยะกลางเทรนด์ขาขึ้นยังคงอยู่
กีฬาโอลิมปิกจะเริ่มในอาทิตย์นี้ในโตเกียว เเต่เกมคงไม่ช่วยเศรษฐกิจมากนักเนืองจากคนดูไม่อนุญาติให้เข้าชม ตัวเลข Retail sales data ที่ออกในวันศุกร์คาดว่าจะเเสดงถึงยอดที่ราบเรียบตั้งเเต่ปลายปีจนถึงมิ.ย เเต่การรีบาวนด์ในภาคการผลิตในเดือนเดียวกันอาจจะช่วยผ่อนความเครียดลง