โซนยุโรปเเละเงินเฟ้อสหรัฐฯ อยู่ใต้การตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
ท่ามกลางวิกฤตธนาคาร เงินเฟ้อจะเป็นที่จับตาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ตัวเลข CPI สำหรับยูโรเช่นเดียวกับ PCE เงินเฟ้อจากสหรัฐฯ จะเป็นที่จับตา 
ออสเตรเลียเองก็จะได้เห็นตัวเลขเงินเฟ้อ เเละในโตเกียวเองก็จับตามองราคาสินค้า
PCE เงินเฟ้อจะทำให้การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ยุ่งยากต่อไปไหม?
ท่ามกลางการประชุม FOMC เเละวิกฤตธนาคาร นักลงทุนต้องย่อยสลายตัวเลขเงินเฟ้อว่าหมายความว่ายังไง
PCE ออกมาในวันศุกร์ พร้อมกับ personal income เเละการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขณะที่ มีเเรงดันในราคาผ่อนคลายลงมากเเล้วในช่วงหลังมานี้ Fed โฟกัสในความพยายามเรื่อง service inflation เเละ Powell ก็คิดว่าไม่มีความก้าวหน้าเลยนอกจาก housing components
ผู้ออกนโยบายจะได้เห็นราคาในกพ. อีกครั้ง ในรูปเเบบของ PCE price index   ทาง Fed เองใส่ใจมากกับมาตรวัดเงินเฟ้ออันนี้  ดังนั้นหากมีเซอร์ไพรส์ทางบวกใดๆ อาจจะข่วยเพิ่มการคาดการร์ดอกเบี้ยของพค. ไปเป็น 25 bps ก็ได้
เงินเฟ้อโซนยุโรปคาดว่าจะเด้งขึ้นอีกครั้ง 
ECB อาจจะทิ้งนโยบายตัวเองในมีค. เเต่ตั้งเเต่มีการประชุมก่อนหน้า พวกเขาย้ำกันว่าอาจจะต้องมีการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนที่จะถึงนี้เพราะเงินเฟ้อยังคงเหนือเป้าหมาย 2% ตัว headline inflation อาจจะชลอลงต่ำกว่า 8% เมื่อ flash estimate สำหรับมีค. ประกาศในวันศุกร์ อย่างไรก็ดี ECB ยังคงต้องโฟกัสกับเงินเฟ้อ
หากไม่รวมถึงอาหาร พลังงาน แอลกอฮอล เเละพลังงาน ตัว consumer price index คาดว่าจะขยับขึ้นไปที่ 5.8% ในมีค จาก 5.6% ในกพ.
ยิ่งเทรนด์นี้ลากยาวไปมากเท่าไหร่ ยิ่งมีความน่าจะเป็นสูงที่ ECB จะยังคงการกระชับนโยบาย หากพิจารณาถึงหลายเดือนที่ผ่านมานี้ ยูโรมีโอกาสที่จะผ่านจุดพีคของ 2กพ. ตราบใดที่ผลกระทบของวิกฤตธนาคารยังคงมีอยู่
มันเป็นอีกเรื่องเลยในสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงเรื่องของวิกฤต svb อยู่ ถึงเเม้ว่าจะยังไม่มีปัญหาใหม่ผุดขึ้นมา Powell ได้ไฮไลท์อันตรายทีว่าเงื่อนไขของเครดิตอาจจะต้องเเน่หนาขึ้นไม่ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตหรือไม่ เพราะธนาคารดูจะระวังในการออกเงินกู้ในอนาคต
เเต่นั่นไม่ได้เเปลว่าเศรษฐกิจของยุโรปจะไม่สะเทือนถึงผลที่เกิดขึ้นเลย เเเละนักลงทุนก็จะคอยระวังตัวมองหาการร่วงของความมั่นใจในภาคธุรกิจ survey ในมีค. จะเริ่มในวันจันทร์กับ IFO business climate ของเยอรมัน  ตามมาด้วย Eurozone economic sentiment indicator ในวันพฤหัส
ออสซี่มองหา CPI ขณะที่การชะงักของ  RBA ยังไม่เเน่นอน
RBA มีการถกกันถึงเรื่องการหยุดนโยบายก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตธนาคารนานเเล้ว เเละน่าจะทำตามที่คิดไว้ในการปะรชุมเดือนเมษา ตลาดได้ priced in ไปเเล้วประมาณ 90% เรื่องหยุดนโยบายนี้ เเละตัวเลขเงินเฟ้อก็จะออกในวันพุธอาจจะพลักให้การคาดการณ์เข้าใกล้ 100% เเล้วหากสถานการณ์มันร่วงลงต่อ
RBA หวังว่าเงินเฟ้อพีคในธค. เมื่อมันเเตะ 8.4% ก่อนหน้าจะร่วงลงไปที่ 7.4% ในกพ. หากมีการร่วงลงในมีค. มากกว่านี้อาจจะเป็นการคอนเฟริมการหยุดในเม.ษ เลยก็ได้ ถึงเเม้ว่าผลที่ออกมาจะไม่ดีนักสำหรับออสซี่ดอลลาร์
อีกทางหนึ่ง หาก CPI ออกมาดีกว่าที่คาดไว้ อาจจะเป็นผลบวกสำหรับออสซี่ เเละมันอาจมีการขึ้นของ manufacturing PMIs ที่จะออกจากจีนในวันศุกร์หากมันชี้ถึงการรีบาวนด์ต่อไปอีกในมีค.
เงินเฟ้อญี่ปุ่นยังคงไม่เเน่นอน
สัปดาห์หน้านี้เป็นของหนักสำหรับญี่ปุ่น ด้วย flurry primarily ออกในวันศุกร์  Preliminary industrial production stats, retail sales เเละ jobless rate สำหรับกพ. จะออกมาด้วย เเต่สิ่งที่นักลงทุนสนใจมากที่สุดจะเป็น CPI ของมีคสำหรับโตเกียว
เงินเฟ้อญี่ปุ่นลดลงอย่างเร็วในกพ. นำเอาเเรงกดดันของ BoJ ออกจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ การคาดการณ์มีค. บอกว่า CPI ในโตเกียวยังคงชลอลงเล็กน้อย เยน ซึ่งปีนขึ้นในช่วงหลังเมื่อเทียบกับดอลลาร์ อาจจะต้องใช้ความพยายามที่จะขยายขาขึ้นหากการคาดการณ์นั้นถูกต้อง
อย่างไรก็ดี กรณีที่เงินเฟ้อกลับตัวไปสูงขึ้นอีก มันอาจเพิ่มความกดดันให้ทาง BoJ ต้องทำอะไรสักอย่างในการประชุมเม.ษ เพราะมันจะเกี่ยวข้องกับการตกลงกันของค่าจ้างจาก unions labour ที่ตกลงไว้ที่ 3.8% y/y