ECB เเละ RBA พยายามไล่ตามกัน


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
ECB มีแผนจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งเเรกในรอบทศวรรษสัปดาห์หน้า ขณะที่ RBA อาจจะเหยียบเบรกเเรงยิ่งกว่า ส่วนนักลงทุนจะคอยดูว่าเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ถึงจุดพีคไปหรือยัง เศรษฐกิจของจีนอยู่ในโฟกัสเช่นเดียวกันขณะที่การค้าเเละเงินเฟ้อจะออก พร้อมกับความกลัวยังคงอยู่ถึงเเม้ว่าการล็อกดาวน์ในเซี่ยงไฮ้จะผ่อนลงเเล้วก็ตาม
ECB กำลังทำสิ่งที่เหลือเชื่อ
เงินเฟ้อในยุโรปพุ่งไปจุดสูงสุดใหม่ที่ 8.1% y/y ในพค. เพิ่มเเรงกดดันให้กับ ECB จบโปรแกรมอุดหนุนสินทรัพย์เร็วที่สุดเเละยกดอกเบี้ยเงินฝากออกจากบริเวณติดลบ (ซึ่งอยู่มาตั้งเเต่ 2014) การตัดสินนโยบายใน 9 มิย จะเป็นตัวแปรสำคัญอันหนึ่งถึงเเม้ว่าผลที่ออกมาจะถูกคาดไว้เเล้วในตอนนี้
ผู้ออกนโยบายส่งสัญญาณว่าพวกเขาต้องการสิ้นสุดการซื้อพันธบัตรต้นกค. เเละเพิ่มดอกเบี้ยภายหลังเดือนนั้นในการประชุมวันที่ 21 มันมีส่วนที่ไม่เเน่นอนอยู่เช่น การขึ้นดอกเบี้ยเบื้องต้น เเละประธาร Lagard ต้องการเเสดงให้ชัดเจนไปเลยในมิย. มากกว่าต้องการให้มีข่าวลือกันไปเองในการประชุมกค.
จากการที่มีการเปลี่ยนไปมาหลายครั้งในปีนี้ มันยากที่ Lagards จะปล่อยอะไรออกมามากกว่า 25 bps เธอคงต้องการเก็บตัวเลือกเอาไว้ในกย. เเต่อาจจะให้ไกด์ไลน์กับนักลงทุนสำหรับฤดูร้อนที่จะมาถึง
เเละถึงเเม้ว่าจะเป็นกรณีที่ไม่ค่อย hawkish เท่าไหร่นี้ การเปลี่ยนนโยบายเเบบหน้ามือเป็นหลังมือในเวลาอันสั้นก็เป็นอะไรที่ดราม่ามาก เพราะในไม่กี่เดือนก่อนหน้า การขึ้นดอกเบี้ยในปี 2022 เป็นสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นกับ ECB เลย เเม้กระทั้งตัว Lagard เองก็คงไม่เชื่อเช่นกัน
กระเเสการขึ้นดอกเบี้ยได้กระตุ้นยูโร เมื่อเทียบกับดอลลาร์เเละสกุลเงินอื่น อย่างไรก็ดี การขึ้นอย่างน้อย 25 bps ในการประชุมทั้งกค. เเละกย. ก็ได้ priced in ไปเรียบร้อยเเล้ว นักลงทุนเองก็มองหาสัญญาณว่า ECB จะไปเร็วกว่านี้ไหม ไม่เช่นนั้น ยูโรอาจจะต้องใช้ความพยายามมากในการปีนกลับขึ้นมาเมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่แทบไม่มีจุดอ่อนเลย
สำหรับตัวเลขที่ออกมา  German industrial orders เเละ industrial production figures สำหรับพค.จะออกในวันอังคารเเละพุธตามลำดับ อาจจะดึงดูดความสนใจท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาพรวมของการโตในยุโรป
RBA จะทำเซอร์ไพรส์อีกครั้งหรือไม่?
ก่อนหน้าการประชุม ECB ทาง RBA คาดว่าจะประกาศการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่สองในวันอังคาร ในพค.ที่ผ่านมา RBA เพิ่มดอกเบี้ย 25 bps ทำเซอร์ไพรส์ให้กับนักลงทุนไม่เพียงเเค่เรื่องของเวลา เเต่ยังคงเกี่ยวกับขนาดที่เพิ่มนี้ด้วย หลังจากจีนปลดล็อกดาวน์ในเซี่ยงไฮ้เเละเริ่มบูส GDP กลับมาในไตรมาสเเรก RBA ได้ไฟเขียวไปกับนโยบายกระชับตัวอย่างเต็มที่
ตลาดเงินมีการ priced in ค่อนข้างมากไปกับ RBA เรียบร้อยเเล้ว นักลงทุนคาดไว้ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 10 ครั้งเเต่ละครั้ง 25 bps ในการประชุม 7 ครั้งที่เหลือของปี 2022 นี่ทำให้ออสซี่มีความเสี่ยงกับความผิดหวังได้หาก RBA ไม่ได้เเสดงถึงการเป็น hawkish อย่างที่คิดไว้
การขึ้น 25 bps จะโดนมองว่าเป็นการขึ้นเเบบระมัดระวังจนเกินไป ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่ RBA จะทำการเพิ่มเป็น 40 bps เเทน เเละจะทำให้ cash rate ไปอยู่ที่ 0.75% ถึงเเม้การเคลื่อนไหวที่มากกว่านี้อาจจะเป็นไปได้เช่นกันหากมองถึงความไม่เเน่นอนของธนาคารกลางในอดีต
ออสซี่เพิ่มพ้นระดับ 0.72$ จะยังคงฟื้นตัวจากพค. เเต่ฝั่ง bull อาจจะต้องการเห็นสัญญาณนโยบายกระชับตัวที่รุนเเรงกว่านี้หากต้องการคงโมเมนตั้มบวกเอาไว้
คอยดูการชลอลงของจีน
จีนเป็นจุดสนใจของตลาดในช่วงที่ผ่านมา เพราะการล็อกดาวน์ในเซี่ยงไฮ้พร้อมกับสงครามของยูเครนที่กำลังเกิดขึ้น ถึงเเม้ว่าในเซี่ยงไฮ้จะเริ่มเป็นปกติกลับมาบ้าง เเต่รัฐเองก็ยังไม่ยกเลิกการล็อกดาวน์เต็มที่ นั่นหมายความว่าอาจจะมีเหตุให้ต้องกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง
นี่อาจะเป็นตัวอธิบายว่าทำไมการผ่อนล็อกดาวน์ลงถึงส่งผลเเบบขึ้นๆลงๆ เเต่ตัวเลขที่กำลังจะออกมาอาจจะช่วยปรับภาพรวมของเศรษฐกิจได้ดีขึ้น มันมีสโคปในการบูสความกระหายของความเสี่ยงให้สูงขึ้นได้ในอาทิตย์หน้านี้
นักลงทุนต้องการเห็นการรีบาวน์ดที่เเข็งเเรงทั้งในส่วนของการส่งออกเเละนำเข้า เมื่อตัวเลขการค้าออกมาในวันพฤหัส ดัชนี consumer and producer price indices ที่ออกมาในวันศุกร์เป็นเรื่องสำคัญ ขณะที่เเรงกดดันเงินเฟ้อจะลดความคาดการณ์ของการใช้นโยบายผ่อนคลายในอนาคต เเละนี่อาจะเป็นการเปลี่ยนทางของอิควิตี้เเละเงินออสซี่
เงินเฟ้อสหรัฐ – มองหาจุดพีค
ความตื่นเต้นก่อขึ้นเมื่อเงินเฟ้อในสหรัฐถึงจุดพีค ถ้าดูตามทั้ง CPI เเละ PCE ในช่วงหลัง อาจจะมีข่าวดีต่อไปได้อีกในวันศุกร์เมื่อ consumer price index สำหรับพค. กำลังออกมา
ดอกเบี้ยคาดไว้ว่าจะไม่เปลี่ยนจาก 8.3% y/y ในพค. เเละ core rate จะยังคงสเถียรอยู่ที่ 6.2%
หากตัวเลขเเสดงถึงเเรงดันราคาเริ่มถอยออกไป เเละเงินเฟ้อดิ่งลงจากนี้ พันธบัตรอาจจะเด้งกลับมาอีกครั้งหลังจากเพิ่งตั้งตัวได้จากพค. ที่เสียหายไปมาก เเละดอลลาร์ก็อาจจะลงไปอีกครั้งหลังจากพยายามฉุดยื้อในช่วงไซด์เวย์เอาไว้
ปัญหาคือการพีคของเงินเฟ้อจะไม่เเก้ปัญหาทั้งหมดของ Fed เหล่านักนโยบายต้องการมั่นใจว่าเงินเฟ้ออยู่ในเส้นทางที่จะลงไปที่ 2% กอนที่จะประกาศการขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้นอาจจะอีกระยะกว่าจะเห็นภาพรวมในทิศทางของเงินเฟ้อที่มุ่งไป
อย่างไรก็ดี ตัวเลข CPI ที่อ่อนในสัปดาห์หน้าอาจจะได้รับการเชียร์จากตลาด จุดประกาย wall street ให้วิ่งขึ้นเสียดสีกับดอลลาร์
นอกไปจากตัวเลขเงินเฟ้อเเล้ว จะยังมี  University of Michigan’s preliminary reading of consumer sentiment ของมิย. ที่จะออกในวันศุกร์ด้วย
การจ้างงานเเคนาดาเเละญี่ปุ่นกำลังออกมา
Canada’s employment report ออกในวันศุกร์เเละตลาดเเรงงานน่าจะยังคงโตขึ้นในพค. ตลาดเเรงงานที่เเข็งเเรงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ BoC กลับมาเป็น hawkish มากขึ้นในการประชุมมิย. พร้อมกับประกาศว่า ต้องระวังมากขึ้นในการสู้กับเงินเฟ้อ
ส่วนการจ้างงานล่าสุดไม่น่าจะมีอะไรใหม่เมื่อมองถึงภาพรวมของนโยบายที่เห็นอยู่
อย่างไรก็ดี รายงานที่เเข็งเเรงจะช่วยสนับสนุนลูนี่ในกรณีที่ราคาน้ำมันลดลง ถึงเเม้ว่าการตัดสินใจของ OPEC จะช่วยผลิตน้ำมันชดเชยส่วนของรัสเซียมากขึ้นทำให้ราคาน้ำมันในตลาดฟิวเจอร์ลดลงเล็กน้อย
ในญี่ปุ่น มีอินดิเคเตอร์สำคัญที่จะออกมาไม่ว่าจะเป็น household spending เเละ average cash earnings ในวันอังคาร การเปลี่ยน Q1 GDP estimate ในวันพุธ เเละ corporate goods prices ในวันศุกร์
อย่างไรก็ดี BoJ ไม่คิดจะออกจากโปรแกรมการตุ้นการอัดฉีดเร็วๆ นี้ ข้อมูลจะไม่กระทบกับเยนถึงเเม้ว่าจะมีเงื่อนงำก่อนหน้านี้ว่าราคาจะพุ่งขึ้นในญี่ปุ่น