BoC เเละ RBNZ กับการขึ้นดอกเบี้ยขนานใหญ่ ขณะที่ ECB พยายามชะลอเวลาออกไป


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
สัปดาห์หน้าการประชุมของธนาคารกลาง 3 เเห่งเป็นจุดโฟกัสสำคัญ ขณะที่ 2/3 ค่อนข้างเเน่นอนว่าจะขึ้นดอกเบี้ย เเละมีตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่นที่น่าจับตาเช่น เงินเฟ้อในจีน สหรัฐเเละอังกฤษ รวมถึงการเลือกตั้งของฝรั่งเสสที่อาจทำให้ตลาดผันผวนได้
RBNZ จะขึ้น 50 bps ไหม?
เริ่มด้วย RBNZ ในวันพุธ ประเด็นสำคัญคืออาจะเป็นครั้งเเรกที่ขึ้นดอกเบี้ยขนานใหญ่ หลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ยมาเเล้ว 3 ครั้ง มันมีโอกาสที่จะทำอย่างรุนเเรงมากขึ้นในเม.ษ
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจนิวซีเเลนด์ค่อนข้างตะกุกตะกักมากกว่าเพื่อนด้วยการล็อกดาวน์ ถึงเเม้ว่าจะไม่ได้ใช้นโยบายโควิดเป็น 0 เเล้วก็ตามเเต่มีการจำกัดด้านนโยบายในมค.เเละกพ. ในบางบริเวณอยู่ นั่นจะเป็นตัวถ่วงน้ำหนักการโตของเศรษฐกิจในไตรมาสเเรก
electronic card sales ในวันจันทร์จะเป็นตัวบอกว่าการบริโภคเด้งกลับมาในมีค.ไหม อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปเเล้วเศรษฐกิจค่อนข้างดี อัตราการว่างงานหล่นลงไปต่ำสุด เเละเงินเฟ้อเเตะระดับ 5.9% y/y ในไตรมาส 4
ถึงเเม้ว่ามีความเสี่ยงของอัตราการว่างงานจะขึ้นนิดหน่อยเมื่อรับเปิดชายเเดน เเละการโตชลอลงจากสงครามของยูเครน เงินเฟ้อคาดว่าจะยังคงสูงขึ้นอยู่ในไตรมาสที่จะถึง ดังนั้นจึงมีการคาดถึงการขึ้นดอกเบี้ยที่ 50-bps ซึ่งได้ priced in ไปเเล้วเกือบ 90%
ปัญหาเดียวสำหรับกีวี่คือ RBNZ กับโทนเสียง hawkish อาจจะไม่บูสตลาดได้มากเท่ากับธนาคารกลางอื่นๆ กี่วี่เทียบกับดอลลาร์ได้ดีตั้งเเต่มค. เเต่หลายส่วนมาจากการที่ราคาสินค้าคอมโมดิตี้มันสูงขึ้น หาก RBNZ ทำให้เกิดการผิดหวังเเละขึ้นดอกเบี้ยเเค่ 25 bps อาจะทำให้ค่าเงินร่วงได้
BoC เป็นอีกที่ที่วางเเผนจะขึ้นดอกเบี้ยดับเบิ้ล
เเคนาดาถึงเเม้จะเป็นที่เเรกๆ ในการเริ่มใช้นโยบาย normalization เเต่การเพิ่มดอกเบี้ยเพิ่งเริ่มทำในมีค. เหล่าผู้ออกนโยบายวางเเผนจะขึ้นดอกเบี้ยรุนเเรงมากขึ้น รวมถึงค่า swap จาก 0.5% เป็น 1.0% ในวันพุธ
เศรษฐกิจเเคนาดาได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากสงครามของยูเครน เเละยังได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นด้วยเเรงดันของเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมากกว่าตัวเลขสูงสุดใน 30 ปี นักลงทุนคิดว่า BoC จะขึ้นดอกเบี้ย 50 bps สองสามครั้งในปี
ถ้า BoC ส่งสัญญาณดังกล่าว ลูนนี่อาจจะพุ่งสูงขึ้นไปอีกเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เเต่อย่างไรก็ดีลูนี่ยังคงจูงโดยราคาฟิวเจอร์น้ำมัน ราคาพลังงานลดลงเล็กน้อยหลังจากสหรัฐฯ เเละประเทศอื่นปล่อยน้ำมันสำรองออกมา หากราคาน้ำมันลดลงไปอีกสัปดาห์หน้า ไม่ว่าจะเหตุผลอะไร ลูนนี่อาจจะไม่ได้รัผลบวกมากนักจากนโยบาย BoC
ECB พยายามชลอเวลาขึ้นดอกเบี้ย การเลือกตั้งฝรั่งเสสน่าจับตาดู
ECB ไม่น่าจะเปลี่ยนนโยบายอะไรในวันพฤหัส เหล่าผู้ออกนโยบายยังไม่ตัดสินใจวันที่ที่จะจบโปรแกรมอัดฉีดเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะกำหนดเวลาที่จะขึ้นดอกเบี้ยไปด้วยเช่นกัน
ECB น่าจะรอดูผลของสงครามไปก่อน พวกเขาหวังว่าหากสงครามเบาลงเเละราคาพลังงานผ่อนลงบ้าง พวกเขาอาจจะสามารถชลอการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยออกไปได้อีก เเต่นี่ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก เเละเงินเฟ้อก็ยังเเย่ลงเรื่อยๆ
มีความเป็นไปได้ที่ ECB จะปูทางขึ้นดอกเบี้ยประมาณหลังฤดูร้อน ยูโรอาจจะเเข็งขึ้นหาก Lagarde มีการส่งสัญญาณในการเเถลงล่วงหน้า เเต่นอกจากเรื่องสงครามที่กดดันยูโรเเล้ว ยังมีอีกความเสี่ยงหนึ่งที่อาจะทำให้ยูโรถอยลงมาอีกได้
ฝรั่งเสสมีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ เเละนักลงทุนกังวลเพราะ Macron ถึงเเม้จะดูเหมือนชนะเเต่ความห่างกับคู่เเข่งเริ่มน้อยลง
หากคู่เเข่ง Le Pen ชนะ อาจจะทำให้ความตั้งใจในการรวม EU ทำลายลงเเละมีผลเสียต่อยูโรในระยะยาว
ข้อมูล UK ทำให้เงินปอนด์ยากที่จะเเข็งค่าขึ้นมา
ข้อมูลเริ่มในวันจันทร์ด้วย GDP, industrial production เเละ trade figures สำหรับกพ. รายงานการจ้างงานจะออกในวันอังคารเเละตัวเลข CPI ออกในวันพฤหัส
เศรษฐกิจ UK น่าจะเคลื่อนที่ได้ดีในกพ. ขณะที่ตลาดเเรงงานคาดว่าจะเเน่นขึ้น อย่างไรก็ดีผลของสงครามเเละการบริโภคที่ลดลงอาจจะทำให้การโตชลอลงในระยะยาว ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดจะมีผลต่อนโยบายการเงินระยะสั้นมากที่สุ
CPI เเตะระดับ 6.2% ในกพ. หากมีการกระโดดขึ้นในมีค. อาจกดดันให้ธนาคารกลางรีบใช่้นโยบายรัดตัว
เงินปอนด์อาจจะได้รับผลบวกหลังข่าวเเถลง เเต่ยกเว้นเเต่ว่ามันเป็นตัวเลขเยอะมาก ตลาดคงไม่เปลี่ยนความคิดต่อทิศทางที่ BoE จะใช้นโยบาย
เงินเฟ้อในสหรัฐ เเละ retail sales จะทำให้ดอลลาร์ยังเเข็งค่าอยู่ได้ไหม?
Fed มีเเผนขึ้นดอกเบี้ย 50 bps ในพค. ดอลลาร์ตอบสนองดีต่อข่าวนี้เเละข่าวการลด balance sheet ซึ่งกระตุ้นพันธบัตระยะยาว
ตัวเลขสัปดาห์หน้าจะสนับสนุนว่า Fed จะเหยียบเบรกเงินเฟ้อเเรงขึ้นหรือไม่ CPI เเตะระดับ 8.3% y/y ในกพ. คาดว่าจะขึ้นมากอีกในมีค.
สำหรับ core rate ก็ปีนขึ้นมาที่ 6.6% เเละในวันอังคาร producer price index จะออกมา
retail sales report ออกในวันพฤหัสเเละการคาดหวังสำหรับ m/m ขึ้นเป็น 0.6% เเละ University of Michigan’s preliminary consumer sentiment สำหรับเม.ษ เเละ industrial production สำหรับมีค. จะออกในวันศุกร์
ดอลลาร์อาจจะเเข็งได้จากตัวเลขเหล่านี้ เเต่ตลาดพนันกับตัวเลขพวกนี้ไปมากเเล้ว จึงน่าสนใจว่าจะยังผลักดอลลาร์ไปได้มากอีกเท่าไหร่หากไม่นับถึงสงครามที่ทำให้ดอลลาร์เป็น safe haven ขึ้นมา ดังนั้นหากมีเซอร์ไพรส์ด้านลบ อาจทำให้ดอลลาร์ร่วงได้
ออสซี่จับตาดูเงินเฟ้อจีน เเละการจ้างงานในประเทศ
สำหรับจีน consumer เเละ producer price indices มีค. ออกในวันจันทร์เเละวันพุธตามลำดับ ตัวเลขการค้าจะดึงดูดความสนใจได้บ้างเช่นกัน มันมีความกลัวว่าจีนจะชลอลงจากการล็อกดาวน์ในเซี่ยงไฮ ดังนั้นหากเงินเฟ้อหรือการค้าลดลงจะทำให้มีภาพรวมความเสี่ยงทางลบเรื่องนี้เพิ่มขึ้น
สำหรับออสซี่ซึ่งวิ่งขึ้นได้ดีตั้งเเต่กพ. เริ่มช้าลงจากการที่จีนชลอลง ถึงเเม้ออสซี่จะเอาตัวรอดได้จากสงครามยูเครนก็ตาม
อีกเเง่หนึ่งตัวเลขเเรงงานที่จะออกในวันพฤหัสอาจจะให้การสนับสนุนสกุลเงินได้หากมีการกระโดดขึ้นในมีค.
RBA ช้ากว่าเพื่อนในเรื่องการการกระชับนโยบายดังนั้นหากมีการเร่งนโยบายขึ้นจะส่งผลบวกต่อออสซี่