เงินเฟ้อสหรัฐฯพุ่งขึ้นอีกรอบ


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
รายงานเงินเฟ้อจะออกวันพฤหัสเวลา 13:30 GMT ซึ่งตามคาดการณ์ตัวเลขจะยังร้อนเเรงขึ้นไปเเตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ตลาดได้พนันการขึ้นดอกเบี้ยไปเเล้ว 5 ครั้งในปีนี้ เงินเฟ้อที่ร้อนนี้อาจจะเพิ่มเชื้อไฟไปอีก เเต่อาจช่วยให้ดอลลาร์กลับมายืนบนขาตัวเองได้อีก ถึงเเม้ว่าเทรนด์ขาขึ้นนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย
Fed เริ่มซีเรียสเเล้ว
เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาด้วยเต็มกำลัง การบริโภคพุ่งทะลุเพดานเเละยังคงลอยอยู่เหนือก่อนวิกฤต กระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ตลาดเเรงงานเกือบจะกลับมาเต็มที่ ซึ่งเริ่มเป็นการผลักค่าจ้างให้ขึ้นไปสูงอีก
ด้วยค่าจ้างที่ร้อนเเรง Fed กังวลว่าเงินเฟ้อจะยังไม่หายร้อนเเม้กระทั่งอุปทานการผลิตกลับมาเป็นปกติ พวกเขาจึงเตรียมที่จะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชลอเศรษฐกิจลงเเละดึงเงินเฟ้อให้ต่ำ ตลาดเงินทำนายว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้เเละเริ่มจะมีความคิดว่าอาจจะมีครั้งที่ 6
ความจริงเเล้วตัวเลขที่กำลังออกเเข็งเเกร่งมากจนนักเทรดให้ 36% กับโอกาสที่จะมีการ ‘double’ การขึ้น 50 base points ในมีค. ท่ามกลางข่าวลือว่า Fed อาจจะต้องให้มาตรการที่รุนเเรงกว่านี้ ตัวเลขเงินเฟ้อที่กำลังจะออกจึงเป็นการตัดสินใจว่าสิ่งเหล่านี้สมควรหรือไม่
ยังคงร้อนเเรงอยู่
ในมค. CPI คาดว่าจะขึ้น 7.3% จาก 7.0% ก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับ core rate ที่ไม่รวมความผันผวนในสินค้าเช่นพลังงานเเละอาหารที่อยู่ 5.9% ขึ้นจาก 5.5% ในธค.
การคาดการณ์เหล่านั้นสนับสนุนโดยงานสำรวจ Markit PMI business surveys ซึ่งเเสดงว่าบริษัทสหรัฐฯ เพิ่มราคาขายในจังหวะเดียวกับเดือนที่เเล้ว ซึ่งตอบสนองกับการคาดการณ์ของ CPI เดือนนี้
เซอร์ไพรส์ด้านบวกน่าจะเป็นไปได้มากกว่าด้านลบ หากพิจารณาว่าราคาน้ำมันขึ้น 17% ระหว่างเดือนนี้ เเต่ช้างเผือกในรายงานนี้จะอยู่ที่ราคาเช่า ซึ่งรับผิดชอบไป 1/3 ของ CPI ทั้งหมด
การเชียร์ครั้งสุดท้ายของดอลลาร์?
เซอร์ไพรส์เงินเฟ้อในอาทิตย์นี้อาจจะเพิ่มเชื้อการคาดการณ์ว่า Fed จำเป็นต้องเอาปืนใหญ่ออกมาใช้เเละขึ้นความเป็นไปได้ใน ‘double’ hike เดือนมีค. ช่วยให้ดอลลาร์ฟื้นตัวจากการเสียช่วงหลังมานี้
ดูที่การวิเคราะห์ทางเทคนิค euro/dollar ตัวเลข CPI ด้านบวกเซอร์ไพรส์อาจจะผลักคู่ให้ต่ำลง ด้วยเเนวรับน่าจะเห็นอยู่ที่ 1.1370 ในกรณีของการผิดหวัง คู่เงินอาจจะพุ่งขึ้นไปเเตะที่ระดับ 1.1485
ถึงเเม้ว่าการคาดหวังเรื่อง Fed เพิ่มดอกเบี้ยเร็วขึ้นในตลาดโลกจะช่วยสนับสนุนดอลลาร์ในระยะสั้น เทรนด์ขาขึ้นนี้อาจจะมาถึงจุดสิ้้นสุด เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังบูมตอนนี้ เเต่ ‘จุดพีค’ น่าจะเลยมานี้
การใช้จ่ายรัฐบาล ซึ่งช่วยในช่วงวิกฤตได้เริ่มจางหายไปเเละเป็นตัวดึงเศรษฐกิจลงในปีนี้ ต้นปีได้เริ่มอย่างอ่อนๆ ไปเเล้วด้วยโอไมครอน เเละด้วย Atlanta Fed GDPNow model บอกว่าการโตจะเพียง 0.1% ในไตรมาสเเรก เหล่านี้เพียงเเค่การชลอการโตลงเเต่ไม่ใช่ภาวะซบเซา
มันยังมีเเนวคิดเรื่อง ‘พีคของเงินเฟ้อ’ เร็วๆ นี้ บางสัญญาณบอกว่าอุปทานการผลิตกำลังฟื้นตัว เเละการเปรียบเทียบ y/y จะกลับมาดุเดือดตั้งเเต่มีค. นั่นหมายถึงเงินเฟ้อรายปีอาจจะถึงจุดพีคในไตรมาสนี้เเล้ว เสียงสุดท้ายในการถกเถียงนี้คือธนาคารกลางของต่างประเทศ ซึ่งเริ่มจะทำตาม Fed เรื่องขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้นพวกเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่นโยบายการเงินที่เเตกต่างจะช่วยบูสดอลลาร์ได้มากขนาดนั้น เเละจะเป็นความความไปด้วยกันได้ของนโยบายขณะที่พันธบัตรเริ่มสูงขึ้นทั่วโลก
และอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ภาพรวมระยะสั้นสำหรับดอลลาร์ยังคงเป็นบวก เเต่ในระยะยาวเหมือนจะกลับทาง เทรนด์ขาขึ้นตอนนี้อาจจะเป็นเฮือกสุดท้ายเเล้ว