การจ้างงานเเคนาดาเพิ่มขึ้นถึงเเม้จะมีการระบาดของโอไมครอน


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
เเคนาดาจะปล่อยตัวเลขการจ้างงานครั้งเเรกหลังโอไมครอนเข้ามาในวันศุกร์ 13.30 GMT ถึมเเม้ว่าตลาดเเรงงานจะพุ่งเลยช่วงพีคของก่อนวิกฤตไปเเล้ว เเต่ตัวเลขที่จะออกมาจะเเสดงถึงผลกระทบที่โอไมครอนมีต่อเศรษฐกิจ หากตัวเลขออกมาเเข็งเเรงก็จะเพิ่มความน่าจะเป็นในการทำ rate hike ครั้งเเรกในไตรมาส 1 ของปี 2022 เเต่ผลนี้จะมีส่วนน้อยกับลูนี่ ซึ่งส่วนใหญ่จะโดนขับเคลื่อนด้วยอิทธิพลภายนอกมากกว่า
การโตของการจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นถึงเเม้จะมีโอไมครอนเข้ามา
เเคนาดาทำผลงานเด้งกลับมาได้ดีมากใน 2021 การจ้างงานกระโดดไปเหนือกว่าก่อนที่จะเกิดวิกฤต ตามการคาดการณ์รายงานในวันศุกร์จะมีเพิ่มเล็กน้อย 27.5k เมื่อเทียบกับก่อนหน้าในพย. ที่เพิ่ม 154k ทิ้งให้อัตราการว่างงานยังคงอยู่ที่ 6.0%
ถึงเเม้ว่าตลาดเเรงงานจะกำลังบูม เเต่ตำเเหน่งงานที่ว่างก็ยังคงสูงอยู่เพราะค่าจ้างต่ำเเละมีการบังคับฉีดวัคซีน ในพย. ตัวเลขคนงานที่มีกับตำเเหน่งงานที่ว่างถ่างออกมาไปอีก ทำให้ไม่มีทางเเก้ในปัญหาการจ้างงานนอกจากการเพิ่มค่าจ้างเพื่อดึงดูดเเรงงาน
เเรงดันการเพิ่มค่าจ้างงนี้อาจะทำให้ส่งผลต่อเเรงดันเงินเฟ้อพุ่งขึ้นเหนือระดับปัจจุบันที่ 4.7% การขาดเเรงงาน การขึ้นค่าจ้าง เเละอุปทานการผลิตที่หดหายทำให้เงินเฟ้อลอยอยู่เหนือกรอบที่ BoC กำหนดไว้ 2% ตลอด กดดันให้ธนาคารกลางต้องทำ rate hike เร็วขึ้น
ลูนี่ไม่ได้โดนขับเคลื่อนจากปัจจัยพื้นฐานเพียงอย่างเดียว
ลูนี่ไม่ได้พึ่งเพียงเศรษฐกิจมหภาคเพียงอย่างเดียว เช่นที่มันล้มเหลวในการตอบสนองต่อการฟื้นตัวของเศรฐกิจของเเคนาดา นอกจากนี้ BoC ยังเป็นธนาคารเเรกที่จบ QE เเละต่อด้วยนโยบายรัดตัวที่เข้มข้น เเต่นั่นก็ยังไม่สามารถยกลูนี่ขึ้นได้มากนัก
ในหลายเดือนที่ผ่านมา มันชัดเจนว่าลูนี่ตอบสนองต่อความกระหายในความเสี่ยง ค่าเงินจะวิ่งผันผวนเมื่อตลาดโฟกัสกับโควิด19 เเละหัวข่าวเรื่องโอไมครอน นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสกุลเงินอย่างลูนี่ด้วย
เช่นในวันอังคาร หลังจาก OPEC+ ประกาศว่าจะยังคงเเผนเดิมในการเพิ่มการผลิตในเดือนกพ. เพราะโอไมครอนดูเเล้วไม่มีผลต่อความเสียหายในอุปสงค์น้ำมันมากนัก ลูนี่เองก็พุ่งขึ้นตาม
โอไมครอนเเละความเสี่ยงในด้านอื่นๆ ยังคงเป็นสาเหตุหลักในขาลง
ตั้งเเต่ต้นธค. เเคนาดาพบกับการระบาดโควิดอีกรอบ นี่บังคับให้มีมาตรการความปลอดภัยในหลายบริเวณเเละอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตการจ้างงานเเละบริโภค
มากไปกว่านั้นเมื่อโอไมครอนกระทบกับภาคการท่องเที่ยวของโลก ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันล้มลง จะกระทบต่อเเคนาดที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ด้วย
ระดับทางเทคนิคที่น่าจับตาดู
มันมีหลายสถานการณ์ที่ลูนี่อาจจะเเข็งเเรงขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เช่นรายงานการจ้างงานที่ออกมาดีกว่าที่คาด การขึ้นของราคาน้ำมัน การทำ carry trade ต่อสกุลเงินอื่นๆ เเละธนาคารกลางที่มีโทน dovish มากขึ้น
หากหนึ่งหรือหลายสิ่งนี้ปรากฏ dollar/loonie  อาจลงต่ำลงกว่า 1.2630 เเละท้าทายต่อเเนวรับที่ 1.25 ที่มีช่วงคาบเกี่ยวกับ 200-day simple moving average ในทางตรงกันข้ามการพุ่งของอัตราผลตอบเเทนพันธบัตรสหรัฐฯ พร้อมกับจุดยืนของ Fed เเบบ hawkish มากๆ จะส่งให้คู่เงินพุ่งขึ้นไปที่ 1.2780 หากทะลุไปได้เลเวลต่อไปที่น่าระวังคือ 1.2850