Flash PMIs เเละ FOMC เป็นไฮไลท์ของสัญญาณความเสี่ยงโดยร่วม ส่วน RBNZ มีเเผนขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
ภาพรวมความเสี่ยงกำลังสั่นคลอนเมื่อนักลงทุนพากันวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของวิกฤตเศรษฐกิจถดถอย  flash PMIs ในพค. อาจจะช่วยนำทางได้ในสัปดาห์หน้า ในสหรัฐฯ มีหลายอย่างที่จะช่วยดันดอลลาร์ได้เช่น FOMC เเละ  PCE inflation ซึ่งตลาดที่ยังคงมองหาจุดพีคของเงินเฟ้ออยู่อาจจะสงบลงได้เมื่อเห็นสัญญาณบางอย่างจากตัวเลขเหล่านี้ ขณะที่ RBNZ คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง
เศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ใต้สปอตไลท์ท่ามกลางกระเเสการถดถอย
มีการพูดถึงภาวะถดถอยมากในยุโรป เเต่น้อยกว่าในสหรัฐฯ ซึ่งความจริงอาจะมาถึงเร็วๆนี้ว่าจะได้รับผลกระทบหรือไม่ทั้งๆ ที่ตลาดเชื่อว่าเศรษฐกิจเเข็งเเกร่งมากพอที่จะไม่โดนผลของการถอถอยครั้งนี้ การเปลี่ยนภาพรวมไปเลยเเบบนี้ ทำให้ดอลลาร์โดนกดลงเเละผลักให้ Wall Street กลับไปอยู่ที่โซนเเดง
ในสัปดาห์หน้ามีตัวเลขหลายอย่างที่ดูได้ เซนส์ของนักลงทุนจะเเหลมคมขึ้นขณะที่พยายามมองหาสัญญาณเตือนของการถดถอยดังกล่าว
เริ่มด้วยวันอังคาร flash PMIs จะโดนจับตามองว่ามีผลกระทบใดๆ หรือไม่ในพค. ต่อราคาที่พุ่งสูงขึ้น ต้นทุนที่สูงขึ้น เเละความไม่เเน่นอนในตลาดโลก
home sales สำหรับเมษ. เองก็ออกในวันอังคารเช่นกัน ตามมาด้วย durable goods orders ในวันพุธเเละ การประมาณ first quarter GDP growth เเละ pending home sales ในวันพฤหัส
เเต่ที่เเย่งไฮไลท์ไปหมดคือ personal income เเละ consumption รวมไปถึง PCE inflation ในวันศุกร์ ทั้งรายได้เเละการใช้จ่ายคาดว่าจะโตขึ้นอย่างดีในเมษ. ดังนั้นความสนใจจะพุ่งไปที่ core PCE index เพราะเงินเฟ้อถูกคาดว่ากำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนทิศ
Fed หวังว่าเงินเฟ้อจะหายไปเร็วๆ นี้ จะได้ไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ยหนักมาก สัญญาณใดๆ ว่าเงินเฟ้อถึงจุดพีคจะถูกบันทึกเเละเเถลงในวันพุธ
ตัวเลขที่อ่อนจะทำให้ดอลลาร์ถอยลงมากไปอีก เเต่ก็มีความเสี่ยงอยู่ทั้งในเรื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงราคาสินค้า
PMIs ของยุโรปจะเหมือนกับมุมมองเชิงลบของนักลงทุนหรือไม่
ECB เเละ BoE อยู่ในฐานะลำบากที่สุด ทาง ECB กำลังคิดที่จะทิ้งนโยบายดอกเบี้ยติดลบออกไป อาจทำให้ยูโรเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่ BoE พยายามเลี่ยงการขึ้นดอกเบี้ย 50 bps ถึงเเม้ว่าจะไม่มีทางเลือกมากนักหลังเงินเฟ้อของ UK กระโดดเป็น 9% ในเมษา
อย่างไรก็ดี นักลงทุนอาจมองข้ามสิ่งดีๆ บางอย่างไป เช่นโซนยุโรปยังได้รับประโยชน์จากการเปิดธุรกิจใหม่กลังล็อกดาวน์อยู่ เเละผู้บริโภคใน UK ยังไม่ทิ้งการบริโภคไปเลยถาวรเพราะตลาดเเรงงานยังเเข็งเเรงอยู่
อย่างไรก็ดียูโรเเละปอนด์อาจจะได้รับการบูสเล็กๆ ในวันอังคารหาก flash PMIs ดีกว่าที่คาดไว้ ส่วนในเยอรมันนักเทรดจะได้เห็น Ifo business climate survey ในวันจันทร์
มากไปกว่านั้น ตัวเลข PMI ที่ดี อาจจะช่วยเพิ่มมูสของตลาด หลีกเลี่ยงความเสี่ยงในสินทรัพย์ลง
RBNZ อาจจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง 50 bps 
RBNZ คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ในหลายเดือนมานี้ นักวิเคราะห์คาดว่าผู้ออกนโยบายจะยังคงตัวเลขที่ 50 bps ของการวางเเผนครั้งที่เเล้ว ขึ้น cash rate เป็น 2% ในวันพุธ
การคาดการณ์เรื่อง double hike มีมากขึ้นหลัง RBNZ ปล่อยการคาดการณ์เงินเฟ้อล่าสุดออกมา อย่างไรก็ดีรายงานดังกล่าวไมได้น่าตกใจนัก ถึงเเม้ว่าเงินเฟ้อหนึ่งปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เเตะ 4.9% เงินเฟ้อสองปีดูเหมือนจะคงที่ใต้ 3.3% จึงมีความเป็นไปได้ที่ผู้ออกนโยบายจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังการประชุมพค.
ก่อนหน้านั้น จะมีตัวเลข retail sales สำหรับไตรมาสเเรกออกมา กีวี่อ่อนไหวต่อเเรงขายหากข้อมูลไม่น่าประทับใจเเละ RBNZ ลดโทนเสียง hawkish ลง
ข้อมูลที่ออกมาจะช่วยยกออสซี่ขึ้นได้ไหม?
สำหรับออสเตรเลีย ธนาคารกลางเพิ่มเริ่มนโยบายกระชับตัว เเละตัวเลขดอกเบี้ยที่จะขึ้นยังคงเถียงกันอยู่ หากมองที่รายงานจ้างงานที่ดีในเมษ. flash PMIs ที่จะออกในวันอังคารอาจจะได้รับการกระตุ้นมากขึ้นในกรณี rate hike มากกว่า 25 bps ในมิย. ถ้าตัวเลขบอกว่าธุรกรรมทางเศรษฐกิจลดลงเพียงนิดหน่อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเเละการล็อกดาวน์ในจีน
ในวันพุธเเละพฤหัส โฟกัสจะเปลี่ยนไปที่ construction output สำหรับไตรมาสเเรก เเละ capital expenditure ส่วนวันศุกร์มี retail sales สำหรับเมษ
ย้อนกลับไปที่ครึ่งหลังของ 2021 การใช้จ่ายในธุรกิจลดลงเพราะโอไมครอน ดังนั้นหากตัวเลขที่ออกมาในไตรมาสเเรกดีขึ้นจะเป็นการยืนยันว่าการฟื้นตัวมีสเถียรภาพ
ออสซี่ลำบากในการพยายามเเตะราคา $0.70 หลังจากที่อ่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์มา 6 สัปดาห์ หากตัวเลขออกมาดีอาจจะช่วยบูสตรงนี้ได้ อย่างไรก็ดีในตอนต้นสัปดาห์ออสซี่อาจจะได้รับผลความเสี่ยงด้านการเมือง จากการเลือกตั้งในวันที่ 21 พค ถ้าหาก Morrison เเพ้อีกฝ่าย ออสซี่อาจจะร่วงลงเมื่อเทียบกับคู่เเข่ง