Fed เร่งการขึ้นดอกเบี้ย เเต่ Powell จะยอมทำมากเท่าไหร่?


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
Fed เเทบเเน่นอนเเล้วว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 50 bps เเละลดงบดุลลงในการประชุมวันพุธ 18.00 เเละในวันศุกร์ รายงานการจ้างงานสำหรับเมษ. จะออกตลาดเเละจะเป็นการยืนยันความเเข็งเเรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ดอลลาร์จะยังคงเป็นราชาต่อไปจนกว่าภาพรวมของภูมิภาคอื่นๆ จะดีขึ้น
Fed ได้อย่างที่ต้องการ
ความต้องการ Fed ที่จะเตรียมตลาดให้รับมือกับการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งเพื่อยังเงินเฟ้อได้ส่งสารไปเเล้ว พันธบัตร 10 ปีกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง เงินเฟ้อคาดว่าจะลดลง นั่นหมายถึงนักลงทุนจะเริ่มเชื่อว่า Fed จะสามารถทำงานได้ผล
ตลาดได้รวมการคาดการณ์ 50 bps ไว้เเล้วในการประชุมนี้ ดังนั้นปฏิกริยาจะไม่รุนเเรงมากเมื่อประกาศออกมา
มันยากที่ Powell เเละพวกจะเซอร์ไพรส์ตลาดได้ เพราะการคาดการณ์นั้นสูงมากถึง 200 bps ไปจนถึงกย. มันยากที่จะขึ้นได้เร็วกกว่านี้ ไม่อย่างนั้นจะมีความเสี่ยงในการล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตร บ้าน หรือหุ้นก็ตาม
Fed ต้องการหนีการสร้างความตระหนก ด้วยเศรษฐกิจที่ชลอลง ดอลลาร์เเข็งไปอย่างมาก เเละเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเย็นลง Powell ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงทำอะไรบ้าคลั่งมากนัก โดยเฉพาะในขณะนี้ที่ยุโรปเเละจีนกำลังเเย่
การจ้างงานเต็มที่
ในวันศุกร์เวลา 12.30 GMT รายงานการจ้างงานล่าสุดจะออกมา NFP คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 400k ในเม.ษ ผลักให้อัตราการว่างงานลดลงไปเเตะ 3.5%
การว่างงานที่ต่ำขนาดนี้ทำได้เเค่เพียงก่อนหน้าวิกฤต ช่วง 1960 โน่น ส่วนการโตของค่าจ้างคาดว่าจะยังไม่เปลี่ยนเเต่เศรษฐกิจจะกลับสู่การจ้างงานเต็มที่ เเล้วค่าจ้างน่าจะขึ้นตามมา
สำหรับการเซอร์ไพรส์ใดๆ ตลาดงานเเสดงถึง NFP ที่เเข็งเเรง Markit PMI เเสดงว่าอัตรางานในเมษ เเข็งเเกร่งที่สุดในรอบปี ขณะที่การขอสวัสดิการว่างงานตกลงระว่างสัปดาห์ รายงานที่เเข็งเเรงจะช่วยให้ E/U วิ่งกลับลงสู่ระดับ 1.0470
มีความกังวลอยู่บ้างสำหรับ ISM manufacturing survey ซึ่งตัว employment sub-index ตกลงอย่างเห็นได้ชัด เเต่ว่าส่วนของโรงงารการผลิตนี้เป็นเเค่น้อยกว่า 10% ของกำลังงานในสหรัฐฯ นี่เป็นการส่งสัญญาณว่าอาจจะไม่มีปัญหาอะไร
ดอลลาร์ยังเป็นราชาอยู่
สำหรับดอลลาร์ มันอาจจะถอยกลับมา 1 ก้าวหาก Fed ไม่ได้มีท่าที hawkish เพียงพออย่างที่นักลงทุนคาด เเต่ภาพรวมทั้งหมดยังคงเป็นบวก ดอลลาร์มาถึงจุดนี้ได้เพราะขี่การขึ้นดอกเบี้ย การหลบความเสี่ยง เเละหนีเมฆที่ปกคลุมภูมิภาคอื่นๆได้
วิกฤตพลังงานได้นำยุโรปมาสุ่จุดย่ำเเย่ จีนเองก็ยังคงมีผลกระทบต่อการล็อกดาวน์ ส่วนเงินปอนด์ยังคงเป็นหลักในตลาดหุ้น สำหรับญี่ปุ่นต้องการให้เงินเยนอ่อนค่ามากกว่านี้
จนกว่าภาพรวมของถูมิภาคเหล่านี้จะเริ่มดีขึ้น มันยากมากที่จะจินตนาการถึงดอลลาร์กลับตัว ถึงเเม้ว่า Fed จะทำไมได้อย่างที่ตลาดคาด ก็จะไม่ถึงขนาดที่ดอลลาร์กลับมาตามหลังคนอื่น