ประชุมธนาคารกลาง 3 เเห่ง ก่อนรายงานจ้างงาน


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
เป็นสัปดาห์ที่ยุ่งเหยิงอีกหนึ่งสัปดาห์ BoE กำลังคาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย ECB ไม่น่าจะมีอะไรหม่ ขณะที่ RBA พยายามขจัดการคาดหวังเรื่อง rate hike ออกไป ส่วนในสหรัฐฯ ตลาดได้ priced in การขึ้นดอกเบี้ยไปเเล้ว 5 ครั้งในปีนี้ ดังนั้น NFP ล่าสุดจะเป็นตัวตัดสินว่าดอลลาร์ยังมีเชื้อไฟเหลือหรือไม่
BoE เตรียมการดำเนินนโยบาย
BoE น่าจะเดินต่อไปกับนโยบายรัดตัวเมื่อมีการประชุมในวันพฤหัส โอไมครอนไม่ได้ทิ้งความเสียหายทางเศรษฐกิจอะไรไว้ตามรายงานที่คาด
ดังนั้นตลาดจึงเเทบจะ price in ราคาไปเเล้ว ทำให้ดอกเบี้ยธนาคารเพิ่ม 0.5% นี่หมายความว่า BoE จะไม่ไปลงทุนในพันธบัตรอีก เเละมีการระบายความคล่องตัวออกจากตลาด
นั่นจะเป็นข่าวดีสำหรับเงินปอนด์ เพราะการทำเเบบนั้นจะทำให้พันธบัตรมูลค่าเพิ่มขึ้นในระยะยาว ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยจะมากขึ้น ดังนั้นหาก BoE ดำเนินงานเช่นนั้นจริงปอนด์ก็จะได้ประโยชน์ รายงายเงินเฟ้อตัวอัพเดทเองก็ตกเป็นที่จับตามองเช่นกัน
กระตุ้นดอลลาร์รอตัวเลข NFP
มีตัวเลขหลายตัวที่จะออกมาในสัปดาห์หน้าสำหรับสหรัฐฯ เริ่มด้วย ISM manufacturing survey ในวันอังคาร services print ในวันพฤหัส เเละที่สำคัญ employment report ในวันศุกร์ ตัวเลข Nonfarm payrolls คาดว่าจะอยู่ที่ 233k สำหรับเดือนมค. นี้ นั่นดูเหมือนจะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่เเล้ว เเต่การลดลงของงานเป็นเรื่องปกติเมื่อการจ้างงานใกล้เต็มเเล้ว ความจริง Nonfarm payrolls อาจจะถูกตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นขโมยไฮไลท์ไปก็ได้
Fed กังวลว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่วงจร ค่าจ้าง-ราคา ดันเงินเฟ้อที่วนไม่รู้จบ ดังนั้นการโตของค่าจ้างถือเป็นสัญญาณของเงินเฟ้อจึงมีความสำคัญมากขึ้น
ตลาดคาดไว้ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ เเละหากรายงานการจ้างงานออมาเป็นไปตามนี้ก็จะส่งเสริมดอลลาร์ให้ไปต่อไป
ECB – ทุดอย่างขึ้นอยู่กับค่าจ้าง
ECB ไม่น่ามีอะไรออกมาใหม่เมื่อพวกเขาประชุมกันในวันพฤหัสนี้ เศรษฐกิจยังคงเดินไปช้าๆ ตลาดเเรงงานก็ไกลจากการจ้างงานเต็มที่ ทำให้ค่าจ้างโดนกด ส่งผลให้เงินเฟ้อไม่มีผลเสียมากนัก
ถึงเเม้ ECB จะรู้ว่าเงินเฟ้อกำลังพุ่งตอนนี้ เเต่มันก็จะไม่อยู่เเบบนั้นหากเงินค่าจ้างไม่ขึ้นตาม มันมีงานสำรวจหลายอย่างตอนนี้ว่าค่าจ้างจะขึ้น เเต่ไม่มีอะไรจะชักจูง ECB ได้ว่าการเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้
Lagarde เองก็ทราบเรื่องนี้ เขาได้บอกว่า ‘เศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีกว่ายุโรปมาก ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องเร่งลงมือทำเหมือนกับ Fed’ นี่ส่งสัญญาณว่า ECB อาจจะช้าในเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ยเมื่อเทียบกับธนาคารกลางเเห่งอื่นๆ
ดังนั้นตลาดยูโรจึงยังคงมืดหม่น ตอนนี้ตลาดเงินคาดว่าจะเพิ่ม 20  basis points ในปีนี้ ดูเหมือนจะไม่สมเหตุผล การเมืองเองก็เข้ามามีส่วนมาก ในอิตาลีโอกาสในการเลือกตั้งเร็วขึ้นมีสูง เเละการเลือกตั้งในฝรั่งเสสเองก็ใกล้เข้ามา ทั้งยังมีความตรึงเครียดในยุโรปตะวันออกด้วย
ก่อนหน้าที่จะมีการประชุม ECB จะมีตัวเลขออกมาหลายหลาย รวมถึง preliminary GDP สำหรับไตรมาส 4 ในวันจันทร์ เเละสถิติเงินเฟ้อล่าสุดในวันพุ
RBA สามารถ ‘นวด’ การคาดการเรื่องดอกเบี้ยได้
เศรษฐกิจออสเตรเลียดีขึ้นในหลายเดือนนี้หลังการยกเลิกล็อกดาวน์ ตลาดเเรงงานเเข็งเเรงกว่าช่วงก่อนหน้าวิกฤต การบริโภคเเข็งเเกร่ง เเรงดันเงินเฟ้อมีมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทุกอย่างจะดีไปหมด PMI ล่าสุดเเสดงว่าโอไมครอนทำให้เศรษฐกิจชลอตัว เเละมีความเสี่ยงที่การชลอของจีนจะส่งผลเข้าออสเตรเลียเมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์อันใกล้เคียง
ดังนั้น RAB ต้องส่งสัญญาณว่าการดีขึ้นของเศรษฐกิจอาจจะทำให้ขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้ เเต่ต้องเตือนว่าการคาดหวัง 5 ครั้งมันเกินไป
สำหรับเพื่อนบ้านนิวซีเเลนด์ รายงานการจ้างงานไตรมาส 4 จะออกในวันอังคาร ขณะที่ PMI ของจีนจะออกในวันสุดสัปดาห์เเละอาจมีความสำคัญกับทั้งออสซี่เเละกี่วี่
ลูนี่รอตัวเลขเศรษฐกิจเเละ OPEC
ในเเคนาดา GDP จะออกในวันอังคารก่อนหน้ารายงานจ้างงานสำหรับมค.ซึ่งจะออกในวันศุกร์  ลูนี่โดนเล่นงานหนักอาทิตย์นี้หลัง BoC ไม่ยอมขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ตลาดผิดหวัง
เเต่ยังไงซะ เศรษฐกิจพวกเขาก็ยังบูม เเละธนาคารกลางคอนเฟริมว่าดอกเบี้ยจะขึ้นในปีนี้ ในตอนนี้ลูนี่ขับเคลื่อนด้วยการคาดหวังทางความเสี่ยง พร้อมๆ กับตลาดอิคิวตี้ เเต่เมื่อนานไป มันจะปรับตัวเข้ากับเศรษฐกิจเเคนาดาที่เเข็งเเกร่งเเละการขึ้นของราคาน้ำมัน
การประชุม OPEC ในวันพุธคาดว่าจะยังคงเเผนเพิ่มการผลิตไว้คงเดิม ทำให้ราคาน้ำมันยังสามารถสูงต่อไปได้