รายงานการจ้างงาน การประชุม FOMC จะเริ่มทำให้ปีใหม่นี้เริ่มยุ่งขึ้นมาอีกครั้งสำหรับดอลลาร์


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
สัปดาห์นี้ตลาดจะกลับมาทำงานเต็มที่อีกครั้งเนื่องจาก Fed มีเเถลงการประชุม FOMC ในวันพุธ (19.00 GMT) เเละรายงาน NFP ออกในวันศุกร์ (13.30 GMT) สำหรับ ISM manufacturing เเละ non-manufacturing PMIs ก็จะออกในสัปดาห์นี้เช่นกันในวันอังคารเเละพฤหัสเวลา 15.00 GMT 
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยบรรเทาความกลัวของโอไมครอนหรือจะทำให้ความกลัวฟื้นกลับมาใหม่ เเละ Fed มีความ hawkish มาขนาดไหนกับการประชุมล่าสุดนี้ หากมีเซอร์ไพรส์ใดๆ อาจจะทำให้ดอลลาร์อินเด็กออกมาจากการเคลื่อนที่ในไซด์เวย์ในหลายเดือนที่ผ่านมา
ภาพรวมดอลลาร์เป็นบวก
ดอลลาร์ทำผลงานได้ดีที่สุดตั้งเเต่ 2015 เเละด้วยความหวังว่า Fed จะทำ rate hike ในปี 2022 ทำให้เศรษฐกิจเเข็งเเกร่งขึ้นไปพร้อมๆ กับเงินเฟ้อที่ลอยตาม ภาพรวมบวกนี้น่าจะอยู่ต่อไปอย่างน้อยช่วง 2-3 เดือนต้นปีนี้ ถึงเเม้ว่าการขยายเศรษฐกิจอย่างดีจะเป็นเรื่องสำคัญ เเต่ตลาดเเรงงานยังคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง เเละปีที่ผ่านมาก็เป็นหลักฐานพิสูจน์เพราะ Fed พร้อมที่จะสละทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อที่ควบคุมได้ยากเเลกกับการฟื้นของตลาดเเรงงาน
ถ้าจะพูดให้ยุติธรรมกับทาง Fed ทั้งตัวเลขเงินเฟ้อเเละเเรงงานได้โดนบิดเบือนไปอย่างมากจากวิกฤตโควิด โดยเฉพาะในตลาดเเรงงานได้มีการอัพเดทตัวเลข payroll หลายครั้งมาก ขณะที่ Fed เองก็ยังหาคำอธิบายที่ดีไม่ได้ว่าทำไมเเรงงานถึงได้หดตัวลง ถ้าไม่รวมพย. เเละธค. nonfarm payrolls ได้โดนอัพเดทไปเกือบ 1 ล้าน เเสดงว่าการโตของงานไม่ใช่ช้าอย่างที่ตอนเเรกเข้าใจกัน
ตื่นตระหนกเพราะ Fed?
ปัญหาที่น่าสงสัยที่สุดในตอนนี้คือเเรงงาน 3.5 ล้านที่ออกไปตอนวิกฤตจะกลับมาเมื่อไหร่ หรือกลับมาหรือเปล่า การขาดเเรงงานทำให้ต้นทุนเเรงงานตึงสำหรับธุรกิจ เเถมด้วยเเรงกดดันของราคาสินค้าที่ขึ้น หากอัตราค่าจ้างเเย่ลง เงินเฟ้ออาจจะกลายเป็นสิ่งเลวร้ายที่ Fed ไม่มีทางเลือกเเต่ต้องเหยียบเบรกให้เเรงกว่านี้
นักลงทุนได้เห็นสิ่งนี้ลางๆ เเล้วในธค. เมื่อPowell ได้เเถลงเชิง hawkish โดยบอกว่าจะเร่งการทำ taper ซึ่งเป็นการปูทางให้มีการทำ rate hike เร็วขึ้น สมาชิกส่วนใหญ่ของ FOMC คาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2022 นอกจากนั้น Powell ยังส่งสัญญาณว่าการยกระดับปิดกั้นอาจถอนออกในทันทีที่ทำ taper ในเดือนมีค. จบ การประชุมในวันพุธจะเป็นตัวเผยว่าการถกเรื่องนี้ไปไกลขนาดไหนเเล้ว
เเต่ความเสี่ยงในการประชุมนี้หลักๆเลยจะอยู่ที่โทนเสียงโดยรวม ซึ่งอาจจะออกมาเป็น hawkish มากกว่าที่ Powell ได้เเสดงไว้เสียอีก หากมีมากไปอาจจะทำให้มีปัญหาเพราะโอไมครอนกำลังระบาดทั่วสหรัฐฯ เเละอาจทำให้มีผลต่อความเติบโตใน 2022 ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณว่าโอไมครอนเริ่มมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเมื่อไหร่ ก็จะมีผลต่อความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น
รายงานการจ้างงานที่เเข็งเเกร่งอีก 1 เดือน
หากมองถึงตัวเลขการประเมินข้อมูลในวันศุกร์ nonfarm payrolls คาดว่าจะเพิ่ม 400k ในธค. เมือเทียบกับพย. 210k อัตราการว่างงานคาดว่าจะเเตะระดับต่ำสุดหลังเกิดวิกฤตอีกรอบ ลดไป 0.1% ที่ระดับ 4.1%
ค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงอาจจะเป็นข่าวที่น่าสนใจ อย่างไรก็ดี m/m คาดว่าจะเร็วขึ้นเล็กน้อยที่ 0.4% เต่ y/y คาดว่าจะค่อยเป็นค่อยไปจาก 4.8% เป็น 4.2% ในธค. หากตัวเลขรายเดือนออกมาเเข็งเเรงกว่าที่คาดจะส่งสัญญาณว่าความยากในการจ้างงานนั้นมากขึ้น ซึ่งหมายถึงค่าจ้างจะยังขึ้นไปอีก
ความช็อกของค่าจ้างอาจจะเป็นปัจจัยทางบวกจาก NFP ขณะที่ความผิดหวังในการจ้างงานอาจจะสร้างความตระหนกเเละเกิดการเทขาย ISM manufacturing เเละ non-manufacturing PMIs อาจจะเร่งผลมากขึ้นหากทั้งสองเป็นบวกหรือลบต่อดอลลาร์พร้อมกัน
ความไม่เเน่นอนจะทำให้ดอลลาร์ยังอยู่ในไซด์เวย์ต่อไป
อินเด็กได้ลอยตัวในไซดเวย์มาเป็นเดือน พื้นอยู่ที่ 38.2% Fibonacci retracement ของตค. ถึงพย. ที่ราวๆ 95.54 ส่วนเพดานอยู่ระดับสูงสุดของพย. 16 เดือนที่ 96.94 ซึ่งสูงสุดที่ราวๆ 97หากดอลลาร์ยังคงพุ่งขึ้น เเต่ก่อนหน้าที่จะขึ้นไปได้ยังต้องผ่านเเนวต้านที่ 96.60 นอกจากนี้หากดอลลาร์อินเด็กตกลงต่ำกว่า 50-day moving average นั่นจะทำให้ภาพรวมในระยะใกล้ไม่ดีนัก
โดยรวมเเล้ว ดอลลาร์จะยังคงเคลื่อนที่ในไซด์เวย์ต่อไปจนกว่าจะมีภาพที่ชัดเจนกว่านี้ว่าโอไมครอนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากขนาดไหนเเละเงินเฟ้อจะใกล้ที่หยุดหรือยัง อย่างหลังจะเป็นตัวตัดสินว่า Fed จะทำ rate hike เร็วขนาดไหน