การวิเคราะห์ตลาดสัปดาห์หน้า – RBNZ เเละ BoC ยังคงนโยบายลดการอัดฉีดลง เเต่สายพันธุ์เดลต้าอาจจะทำให้เกิดความวิตกต่อ BoJ


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
มันจะเป็นสัปดาห์ที่ยุ่งเหยิงของการประชุม BoC, BoJ เเละ RBNZ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะเป็นที่จับตามองบนเวทีหลัก 
ด้วยความวิตกที่เพิ่มขึ้นของโควิดสายพันธุ์เดลต้า อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเปิดประเทศไปทั่วโลก เหล่าผู้ออกนโยบายของญี่ปุ่นคงจะระวังตัวในการส่งสัญญาณใดๆ ออกมา เเต่ทั้ง RBNZ เเละ  BoC จะยังคงภาพรวมทางบวกเอาไว้ หลังจากที่ Fed ได้ส่งสัญญาณบอกว่าการตัดสินใจเหยียบเบรกเงินอุดหนุนคงไม่เกิดเร็วๆ นี้ ตลาดอาจจะผ่อนคลายมากขึ้นในการเเถลง CPI ในสหรัฐ
ขณะที่ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของจีนจะโดนจับตามองว่าสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอาจจะอยู่ในช่วงที่เติบโตเพียงเล็กน้อย
RBNZ จะเติมเชื้อไฟต่อการเกิด rate hike ในเดือนพฤศจิกายนหรือไม่?
มันมีการเปลี่ยนอย่างกระทันหันของความคาดหวังใน rate hike ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากได้จับตาดูค่าความมั่นใจในธุรกิจที่กระโดดไปเป็นค่าสูงสุดในรอบ 4 ปีในไตรมาสที่ 2
การสำรวจคือตัวเลขล่าสุดที่เเสดงให้เห็นถึงมุมมองของนิวซีเเลนด์ขณะที่ประเทศกำลังฟื้นออกจากวิกฤตได้เร็วกว่าประเทศพัฒนาอื่นๆ เป็นผลให้ตลาดนำเรื่องของ rate hike ขึ้นมาว่าเมื่อไหร่จะเกิดขึ้น มีการคาดว่าอาจจะเป็นเดือน 11 ของปีนี้เเทนที่จะเป็นเดือน 8 ในปี 2022 อย่างที่เคยคาดเอาไว้
สำหรับการประชุมในเดือนก.ค RBNZ คงจะยังใช้นโยบายเดิมในการประชุมวันพุธนี้ เเต่นักลงทุนก็คงจะพยายามจับผิดการใช้คำพูด หากมีการเอ่ยถึงทางบวก ก็จะเป็นการคอนเฟริมถึงการคาดการณ์เรื่อง rate hike อาจจะมาเร็วขึ้น ถึงเเม้ว่าเหล่าผู้ออกนโยบายจะย้ำว่าภาพรวมอาจจะไม่เเน่นอนเสมอไป เพราะมีการติดเชื้อสูงขึ้นมากในบรรดาชาติทั้งหมด ความน่าจะเป็นนี้ค่อนข้างอ่อนด้วยเหตุผลที่ว่านิวซีเเลนด์ที่ผ่านมาก็หลีกเลี่ยงการติดเชื้อเเบบกลุ่มได้ดีในสายพันธุ์เดลต้า
นิวซีเเลนด์ดอลลาร์อาจจะได้รับการกระตุ้นในช่วงสั้นๆ เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หาก RBNZ ไม่ยอมเอ่ยอะไรเลยก็จะทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนไทม์ไลน์ของ rate hike เเต่ถึงกระนั้นขนาดที่ว่ามีดราม่าเกิดหลัง rate hike เปลี่ยนอย่างมหาศาล ค่าเงิน kiwi ก็ยังไม่สามารถที่จะเอาชนะดอลลาร์ได้ มุมมองความเสี่ยงในโลกเเละการลดวงเงินอัดฉีดของ Fed ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการลงทุนในตอนนี้
ก่อนที่จะถึงการตัดสินใจ RBNZ ตัวเลข electronic card retail sales สำหรับเดือนมิ.ย อาจจะดึงดูดความสนใจในวันจันทร์ เเละ consumer price index สำหรับไตรมาส 2 จะเป็นเรื่องที่ต้องจับตาในวันศุกร์
การฟื้นตัวของจีนอาจจะเเผ่วลง
ตัวเลข GDP สำหรับไตรมาส 2 ของจีนจะออกมาในวันพฤหัส เเละมันอาจจะทำเพิ่มความเชื่อที่ว่าการโตอ่อนแอลงหากมันออกมาน้อยกว่าที่คาด ในไตรมาสเเรกเศรษฐกิจจีนโตถึง 18.3% year-on-year เเต่ตัวเลขดังกล่าวโดนดันขึ้นมาจาก low base effect ของปีก่อนหน้าเมื่อ GDP โดนกดจากการปิดประเทศในไตรมาสเเรกของปี 2020 อย่างไรก็ดีค่า PMI ล่าสุดค่อนข้างอ่อน การคาดการณ์ GDP ของไตรมาส 2 คือ 8% year-on-year

ตัวเลข industrial production เเละ retail sales จะออกมาในวันพฤหัสบดี ซึ่งจะเเทนที่ด้วยการเทรดในเดือนมิ.ยในวันอังคาร หากตัวเลขไม่สามารถบูสความมั่นใจได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดลค้าบังคับให้ต้องปิดหลายส่วนของโลก มุมมองของตลาดอาจจะหยุดได้ นี่อาจจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักของการประเมินสินทรัพย์เช่น หุ้น เเละทำร้ายสกุลเงินออสซี่ได้
วันพฤหัสอาจจะเป็นวันที่ค่าเงินออสซี่มีความผันผวน เมื่อตัวเลขการจ้างงานจะออกมา การล็อกดาวน์ล่าสุดในออสเตรเลียอาจจะมาช้าเกินไปที่จะมีผลต่อตัวเลขการจ้างงานดังนั้น 30k คือตัวเลขที่ได้รับการคาดการณ์กัน
BoC ไม่กังวลต่อปัญหาไวรัสที่เกิดขึ้
BoC จะประกาศนโยบายหลังการประชุม RBNZ ในวันพุธ คาดว่าจะมีการลดวงเงิน QE ลงไปอีก ด้วยการชลอการซื้อพันธบัตรจาก 3 พันล้านมาเป็น 2 พันล้านต่อสัปดาห์ ธนาคารยังจะประกาศตัวเลขอัพเดททิศทางของเศรษฐกิจเเละเปิดเผยว่าจะมีการเพิ่มอัตราเเลกเปลี่ยนในช่วงหลังของปี 2022 หรือไม่
ย้อนกลับไปเมื่อเดือน 4 พวกเขามีแผนที่จะออกจากโปรแกรมกระตุ้นเศรษฐกิจ ตั้งเเต่นั้นมาก็มีการท้าทายของสายพันธุ์ใหม่อย่างเดลต้ามาเข้าร่วม การติดเชื้อในเเคนาดารายวันยังคงต่ำอยู่ เเละไม่มีโอกาสมากนักที่ธนาคารกลางจะเปลี่ยนการตัดสินใจ อย่างไรก็ดีเหล่าคนออกนโยบายอาจจะย้ำการตัดสินใจอีกรอบหาก BoC มีภาพรวมที่ดีในการทำสำรวจที่จะปล่อยออกมาในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ดี ค่าเงินเเคนาดายังคงดิ้นรนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวอันเเข็งเเกร่งของทั่วโลก ซึ่งอาจจะบูสความต้องการของสินทรัพย์ปลอดภัยได้
อาการของ BoJ สะท้อนให้เห็นถึงการจัดโอลิมปิกเเละสถานการณ์ไวรัสที่เจออยู่
BoJ ไม่มีข่าวดีมากเมื่อมีการสรุปการประชุมในวันศุกร์ที่ผ่านมา BoJ เตรียมที่จะลดการคาดการเติบโตลงในปีนี้เมื่อมันปล่อยรายงานภาพรวมของไตรมาสที่ 3 พร้อมๆ กับการตัดสินใจอื่นๆ โดยที่คงไม่มีการเปลี่ยนอะไรเกิดขึ้น
หลายจังหวัดในญี่ปุ่นเพิ่งออกมาจากการประกาศพื้นที่ฉุกเฉินสำหรับการต่อสู้กับการเเพร่ระบาดเวฟที่ 4 อย่างไรก็ดีโตเกียวโดนประกาศเรื่องนี้ด้วยเพราะจะควบคุมสถานการณ์ในช่วงการเเข่งโอลิมปิกในช่วงท้ายของก.ค ดังนั้นหลังจากการรีบาวน์ที่เเข็งเเรง หนทางการฟื้นตัวของญี่ปุ่นกลายมาเป็นความไม่เเน่นอน
สิ่งเหล่านี้มีความหมายอย่างไรต่อนโยบายการเงินของญี่ปุ่น? มันคือการไม่ใกล้กลับไปสู่สถานการณ์ปกติเลย เเละนี่ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า BoJ อาจจะต้องใช้การอัดฉีดเงินไปอีกยาวกว่าจะออกจากสถานการณ์นี้ได้
เเต่ความมืดมัวของ BoJ นี้มีความหมายต่อตลาด Fx อย่างไร? นั่นขึ้นอยู่กับว่าความกระหายในความเสี่ยงกลับมาหรือยัง ในตอนนี้เยนกำลังอยู่บนถนนของการกังวลเกี่ยวกับสายพันธุ์เดลต้าเเละการโตของเศรษฐกิจ หากเรื่องเหล่านั้นหายไปเยนอาจจะกลับมาโดนกดดันอีกครั้ง ถึงเเม้ว่าจนกว่าพันธบัตรโลกจะหยุดดิ่งเหว ค่าเงินเยนก็ยังคงสามารถที่จะอยู่เหนือระดับต่ำสุดในปี 2021 ได้
ตัวเลข CPI ในสหรัฐอาจจะไม่ทำให้ตลาดรู้สึกอย่างไร เเต่ตัวเลข retail sales นั้นไม่เหมือนกัน
ไฮไลท์ในสหรัฐจะเป็นตัวเลข CPI สำหรับมิ.ย ในวันอังคาร เเละตัวเลข retail sales ในวันศุกร์  CPI rate อาจจะผ่อนลงต่อไปในเดือนมิ.ย ด้วยความคาดหวังมุ่งไปที่การเติบโต 0.4% ซึ่งจะลดลงไปจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.6% เเละ 0.8% ในเม.ย อัตรารายปีเองก็คาดว่าจะอยู่ที่ 4.9% เมื่อเทียบกับพ.ค ค่าสูงสุดในรอบ 13 ปีที่ 5.0%
อย่างไรก็ตามด้วยการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่ล้มเหลวในการขู่ Fed ให้กลัวพอที่จะกดเหยียบการอัดฉีดลง การเเถลงในเดือนมิ.ยก็คงไม่ต่างกัน โดยเฉพาะหลังจากการประชุม FOMC ในเดือนมิ.ย เเสดงให้เห็นว่ายังไม่มีการดำเนินการอะไรเป็นรูปร่างในการชลอการอัดฉีดลง สิ่งที่อาจจะทำให้ Fed เปลี่ยนใจได้บ้างนิดหน่อยเป็นตัวเลข retail sales prints ของมิ.ย
ตัวเลข Retail sales ลดลง 1.3% m/m ในพ.ค เมื่อการอัดฉีดจากการเปิดเศรษฐกิจใหม่ลดลดไปนิดหน่อย นักวิเคราะห์ไม่คาดว่าการรีบาวนด์สำหรับมิ.ย เเละความผิดหวังอีกรอบจะช่วยสนับสนุนให้สมาชิก FOMC มีความอดทนก่อนที่จะประกาศเปลี่ยนจังหวะในการซื้อสินทรัพย์ อย่างไรก็ดีหากตัวเลขออกมาดีกว่าที่คาดอาจจะช่วยเพิ่มความได้เปรียบของการชลออัดฉีดในช่วงเเรก ช่วยให้มีศักยภาพของขาขึ้นในดอลลาร์อีกเเรงหนึ่ง
the producer price index จะออกในวันพุธ เเละตามด้วย  manufacturing surveys (Empire State ในวันพฤหัสเเละ Philly Fed ในวันศุกร์) , industrial production data (วันพฤหัส) เเละ the University of Michigan’s preliminary consumer
ตัวเลข inflation figures ออกจาก UK ในวันพุธ ตามมาด้วย jobless figures ของโซนยุโรปในวันพฤหัส เเละการคาดการของ inflation เดือนมิถุนายนในวันศุกร์ ทั้งยูโรเเละปอนด์อาจจะรับคิวมาจากดอลลาร์ในหลายวันถัดจากนี้ นักลงทุนจะจ้องตัวเลขการติดเชื้อใน UK เเละดูว่าวัคซีนอย่างเดียวจะเอาอยู่ในเรื่องของการรองรับผู้ป่วยในร.พ ได้ต่ำขณะที่เริ่มมีการปลดเงื่อนไขป้องกันไวรัสออกไป