โฟกัสในโซนยุโรปอยู่ที่ PMI ในขณะที่ยูโรกำลังอ่อนแรง


Pantira Korkasemwong, ฝ่ายวิจัยการลงทุน XM
Flash PMI ที่จะออกในวันอังคาร 09:00 GMT น่าจะดึงดูดความสนใจได้มาก ขณะที่ยูโรมีสถานะภาพไม่นักในตลาดเงิน เเละเศรษฐกิจของยุโรปในตอนนี้ทำให้นัลงทุนพากันกังวลกับภาพรวมที่จะออกมา ดังนั้นตัวเลข PMI นี้จะเป็นตัวบอกว่าจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ลงได้หรือไม่
เกือบจะถึงอยู่เเล้ว
เศรษฐกิจโซนยุโรปมีการฟื้นตัวที่ดี คาดว่า GDP น่าจะกลับมาได้ภายในสิ้นปี ถึงเเม้ว่าจะมีผลกระทบของการขาดอุปทานการผลิตเเละราคาพลังงานที่พุ่งขึ้น โดยเฉพาะในเยอรมันที่มีผลต่ออุตสาหกรรมรถยนต์เองก็ยังไม่มีใครดากว่ามันจะถอถอยลงไป
อินดิเคเตอร์วัด PMI ได้เเสดงว่าตัวเลขวิ่งอย่างสม่ำเสมอในทางขาลง เเต่ยังคงลอยอยู่สูงกว่าระดับ 50 ขาลงที่ว่านี้น่าจะยังคงดำเนินต่อไปในพย. เพราะการขาดอุปทานการผลิตยังไม่บรรเทาลง ขณะที่การระบาดไวรัสรอบใหม่เองก็จะฉุดการโตลงด้วย
ยังคงเติบโตต่อไป
ตัวเลขคาดการณ์ PMI อยู่ระหว่าง 58.3 เป็น 57.5 ใน flash estimate พย. สำหรับ services PMI จะลดลงจาก 54.6 เป็น 54.0 เเละ composite PMI คาดว่าจะลดลงจาก 54.2 เป็น 53.6
หากตัวเลขเหล่านี้ต่ำกว่าที่คาดไว้ในพย. ยูโรอาจจะวิ่งลงต่อไปเเละเพิ่มความกังวลต่อการโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลงของยุโรป
เเล้วยูโรจะลงไปต่ำได้เท่าไหร่?
Euro/dollar มีเเนวรับบริเวณ  61.8% Fibonacci retracement ระหว่างมีค 2020 – มค. 2021 หากลงไปอีกอาจจะลงไปหาระดับ 1.1160 ซึ่งเป็นทั้งเเนวรับเเละเเนวต้านในอดีต ถ้าหากระดับยังสามารถทะลุลงไปได้ ก็จะเจอ 78.6% Fibonacci ที่ราคา 1.1002 เป็นลำดับต่อไป
เเต่หากข้อมูลตัวเลขออกมาในเเง่บวก ยูโรอาจจะยืนได้หนักเเน่นมาขึ้น พาคู่เงินพุ่งไปที่ 50% Fibonacci ระดับ 1.1492 ก่อนที่จะถึง 50-day moving average ที่ตอนนี้อยู่ที่ 1.1600
เเรงต้านหลายอย่าง
นักลงทุนพากันพนันถึงการโตใน 2022 ในทางลบเพราะมีความเสี่ยงหลายอย่างรออยู่ นอกจากอุปทานการผลิตที่ขาดเเคลนเเล้ว ยังมีปัญหาราคาวัตถุดิบที่พุ่ง เคสโควิดที่เพิ่ม ทำให้บางประเทศเช่นออสเตรียประกาศล็อกดาวน์ เเละการชลอลงของจีนก็ทำให้มีปัญหาการส่งออกของยุโรป
เเต่เหล่านี้ก็ไม่ได้อธิบายว่าทำไมยูโรถึงได้อ่อนมากมายขนาดนี้ในหลายอาทิตย์ที่ผ่านมา คำอธิบายที่ฟังเข้าท่ากว่าก็คือเหตุการณ์เหล่านี้เป็นตัวย้ำว่าธนาคารกลางยุโรปจะสามารถเอาชนะได้เเค่เพียงธนาคารกลางญี่ปุ่นที่เดียว ท่ามกลางธนาคารกลางต่างทั่วโลกเมื่อมาถึงเรื่องของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากโควิดระบาด
มันล้วนเกี่ยวข้องกัน
ถึงเเม้ว่าเงินเฟ้อในยุโรปกำลังเพิ่มขึ้น (เเตะ 41% ในตค.) เเต่มันขึ้นเร็วกว่ามากในสหรัฐฯ เเละทางนั้นก็เเข็งเเรงกว่ามากในการยืนรับผลกระทบหากทำการขึ้นดอกเบี้ย นั่นหมายถึง ECB สามารถที่จะอดทนรอได้มากกว่า Fed ในการรอให้ปัจจัยชั่วคราวบางอย่างจางหายไปก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อหรือไม่
อย่างไรก็ดี ตลาดเงินได้ pricing ความน่าจะเป็นของ 10-bps rate hike ในปี 2022 ดังนั้นจึงอาจจะเป็นเรื่องเร็วเกินไปที่จะมองค่าเงินนี้ในเเง่ลบมากเกิน อย่างเดียวที่เป็นข้อเสียสำหรับยูโรในตอนนี้คือเศรษฐกิจไม่ดีนัก เเละ ECB ผ่อนคลายปัญหาเงินเฟ้อมากกว่าเพื่อนๆ เเต่เหล่านี้อาจจะเปลี่ยนได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะหากเงินเฟ้อได้พิสูจน์ว่าจะอยู่นานกว่าที่คาดเอาไว้